วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ภัทรกัป

พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ในภัทรกัปตามคัมภีร์ของเถรวาท

          คำว่า "กัป" หมายถึง ระยะเวลาที่ยาวนานเหลือเกินที่กำหนดว่าโลกคือ
 สกลจักวาฬ ประลัยครั้งหนึ่ง
 คือกำหนดอายุของโลก ท่านให้เข้าใจด้วยอุปามาว่าเปรียบเหมือน
มีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ 1 โยชน์
 (๔๐๐ เส้นหรือประมาณ ๑๖ กิโลเมตร) ทุก 100 ปี
มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง
จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวกว่านั้น

           "กัป" ปัจจุบันนี้เรียกว่า "ภัททกัป" หรือ "ภัทรกัป" แปลว่า
 กัปเจริญ เพราะในภัททกัปจะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นถึง ๕ พระองค์ คือ
                    ๑. พระกกุสันธะ
                    ๒. พระโกนาคมนะ
                    ๓. พระกัสสปะ
                    ๔. พระโคดม (คือพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน)
                    ๕. พระศรีอริยเมตไตรย

           ในภัททกัปนี้จักมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในอนาคตอีกหนึ่ง พระองค์คือ
"พระศรีอริยเมตไตรย"

          บทนมัสการว่า "นโม พุทธาย" แปลตามศัพท์ว่า
"นอบน้อมแต่พระพุทธเจ้า"เป็นคำ กลาง ๆ แต่ก็นับถือกันว่าเป็น
บทไหว้พระพุทธเจ้า ๕ ประองค์ น่าจะเพราะนับได้ ๕ อักษร
และพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์นั้น ก็หมายถึง พระพุทธเจ้าซึ่งได้อุบัติแล้ว
และจักอุบัติในภัททกัปนี้


คัดมาจาก
          http://www.dhammathai.org/buddha/g21.php

 
กริยา
emergeออกมา, อุบัติ, ปรากฏตัว, พัฒนา, ใผล่ออกมา, มีตัวตน
take placeอุบัติ
happenเกิดขึ้น, ขึ้น, บังเอิญ, อุบัติขึ้น, อุบัติ, เป็นมา
ariseเกิดขึ้น, ลุกขึ้น, ดำเกิง, เป็นมา, อุบัติ
occurเกิดขึ้น, อุบัติ, ปรากฎขึ้น, บังเกิดขึ้น, มีขึ้นมีอยู่, ก่อกำเนิด
be bornชาตะ, ตกฟาก, ปฏิสนธิ, อุบัติ, ประสูติ
come aboutอุบัติ

        


ประวัติพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า  
ทรงมีพระนามว่า "กกุสันธะ"
ทรงถือกำเนิดในสกุลพราหมณ์ ในเขมนคร เป็นตระกูลใหญ่ที่ชาวโลกในขณะนั้นถือว่า ประเสริฐสูงสุดกว่าตระกูลอื่น ที่มีชาติสูงสุดและมียศมาก พุทธบิดาคือ “อัคคิทัตตะ” พุทธมารดาคือ “วิสาขา” มีปราสาท ๓ หลัง คือ “กามวัฑฒะ”, “กามสุทธิ” และรติวัฑฒะ ทรงครอบครองฆราวาสอยู่ ๔ พันปี ภรรยาชื่อว่า “โรปินี” บุตรนามว่า “อุตระ” ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยรถอันเป็นยานพาหนะ บำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม จึงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ไม้โพธิพฤกษ์ชื่อ “ไม้ซึก” ทรงแสดงปฐมเทศนาคือ พระธรรมจักร ณ มฤคทายวัน มีอัครสาวกคือ “พระวิธุรเถระ” และ “พระสัญชีวนามเถระ” พระเถระชื่อ “พุทธิชะ” เป็นพุทธอุปัฏฐาก พระอัครสาวิกาคือ “พระสามาเถรี” และ “พระจัมมปนามาเถรี” อุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก คือ “อัจจคตอุบาสก” และ “สุมนอุบาสก” อุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา คือ “นันทาอุบาสิกา” และ “สุนันทาอุบาสิกา” พระพุทธเจ้ากกุสันธะมีพระองค์สูง ๔๐ ศอก พระรัศมี มีสีเปล่งปลั่งดังทองคำ เปล่งออกไป ๑๐ โยชน์โดยรอบ
   http://www.phrabat.com/phrabat/Page/Content/5BD1.html    

        




        
      
          
http://www.crs.mahidol.ac.th/thai/buddhist121.htm

เสด็จลงจากดาวดึงส์


 พระมหาโมคคัลลานะทูลถามการเสด็จลง

กาลเมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงกระทำปาฏิหาริย์แล้วขึ้นไปสู่ดาวดึงส์เทวโลก ครั้งนั้น มหาชนทั้งหลายที่มาประชุมกันอยู่ในที่นั้นและดูพระพุทธสรีรกายหายไปในเทวโลก ก็เศร้าโศกปริเทวนาการว่า “พระบรมครูขึ้นไปสู่ภูเขาจิตรกูฏหรือไกรลาส หรือคันธมาสประการใด เราทั้งหลายมิได้เห็นพระองค์ในกาลบัดนี้” แล้วเข้าไปถามพระมหาโมคคัลลานะ “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระบรมครูแห่ง
เราเสด็จไปสถิตอยู่ ณ ที่แห่งใด” พระมหาเถระจึงกล่าวว่า “พวกท่านจงถามท่านพระอนุรุทธะก็จะทราบ” มหาชนก็ไปถามพระอนุรุทธเถระท่านก็บอกว่า “พระพุทธองค์ เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ในดาวดึงส์เทวโลก เพื่อจะตรัสพระธรรมเทศนาอภิธรรม ๗ คัมภีร์ โปรดพุทธมารดา” ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ก็เมื่อใดเล่าจะกลับมาสู่มนุษยโลก ดูกรท่านทั้งปวง พระบรมครูตรัสเทศนาพระอภิธรรมปิฎถ้วนไตรมาสแล้ว พอถึงวันปวารณาจึงจะกลับมายังมนุษยโลกนี้” ชนทั้งหลายจึงกล่าวแก่พระมหาโมคคัลลานะว่า “ถ้ามิได้เห็นองค์พระสัพพัญญู ข้าพเจ้าทั้งหลาย จะไม่ไปจากที่นี่” แล้วชวนกันพักแรม ตั้งทับและชมรมพักอาศัยมิได้มีหลังคา


ภาพจาก
http://cheechinkhor.org/?p=633