วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

อาฏานาฏิยปริตร

    การสวดภาณยักษ์ นั้นก็คือ การสวดพระอาฏานาฏิยปริตร โดยพระปริตรนี้ แบ่งเป็น2ภาค
A30GQLCALGTDYBCAA5BODZCANIBTGHCA6T41ZFCADEXWDGCAHDFBI4CA6AWFT1CA05X9IDCAECUSPBCAFSDL7BCA3L9KQSCAROIUCXCAZUY2JFCA3XNCZYCAOK3UGDCAH3SXO7CA4OCYVOCAMAJYEGคือ ภาคภาณพระ และภาคภาคยักษ์ โดยตามพระพุทธประวัติกล่าวว่า หลังจากพระมหาบุรุษตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วนั้น ท้าวจตุโลกบาลก็มาเข้าเฝ้า พระพุทธเจ้าก็ตรัสกล่าวถึงพระพุทธวงศ์ คือพระนามพระพุทธเจ้าที่เคยตรัสรู้มาแล้ว (ภาณพระ) จากนั้นท้าวจตุโลกบาลก็มีดำริว่าบริวารของตนนั้นมีมากมาย ทั้งที่เป็นยักษ์ กุมภัณฑ์ นาค และคนธรรพ์ ซึ่งมีมายมากที่ไม่มีจิตเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา กลัวว่าจะมารบกวนพระสงฆ์สาวกที่ไม่มีฤทธิ์ ขณะจาริกและปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานให้ได้ความเดือดร้อน จึงถวายพระปริตรนามว่า อาฏานาฏิยปริตร แด่พระพุทธเจ้า เพื่อให้พระสงฆ์นำไปสวดกัน (ภาณยักษ์)
 พระปริตรดังกล่าวนั้นได้รวมอยู่ทั้งใน จุลราชปริตร(สวด ๗ ตำนาน) และมหาราชปริตร

ปาฐกถา. ปาฐกถา

ปาฐกถา. ปาฐกถา

คือ การพูดถึงความรู้ ความคิด นโยบายแสดงเหตุผล และสิ่งที่น่า สนใจผู้ที่แสดง
ปาฐกถา ย่อมต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงในเรื่องนั้น ๆ


ปาฐกถาธรรม. คือ การแสดงธรรม โดยใช้ภาษาธรรมดาที่สื่อความหมายได้ ง่าย ตัดรูปแบบและพิธีกรรมอย่างที่ใช้ในการเทศน์ออกหมดสิ้น.www.panyathai.or.th/wiki/index.php/ปาฐกถา

ปาฐก คือผู้แสดง ปาฐกถา
ปาฐกถา [N] ความหมาย คือ speech,ถ้อยคำหรือเรื่องราวทางวิชาการที่กล่าวหรือบรรยายใน ที่ชุมนุมหรือในห้องเรียนขั้นอุดมศึกษา,,
www.kateep.com/dictionary/dic_thaionline-id-13507.htm

พระไตรปิฎก การทรงจำและบอกต่อ ๆ กันมาด้วยปากนี้ เรียกว่า มุขปาฐะ

พระไตรปิฎก

เป็นคัมภีร์หรือตำราทางพระพุทธศาสนา ซึ่งรวบรวมคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า ไว้เป็นหมวดหมู่ แบ่งออกเป็น 3 ปิฎก ด้วยกันคือ

1. พระวินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของ ภิกษุและภิกษุณี
2. พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาโดยทั่วไป มีประวัติและท้องเรื่องประกอบ
3. พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยธรรมะล้วน ไม่มีประวัติ และท้องเรื่องประกอบ

แผนผังพระไตรปิฎก

พระวินัยปิฎก มีอยู่ 5 หมวดด้วยกันคือ

1. มหาวิภังค์ ว่าด้วยข้อห้าม หรือวินัยที่เป็นหลักใหญ่ ๆ ของพระภิกษุ เป็นศีลของภิกษุที่มาในปาติโมกข์

2. ภิกษุณีวิภังค์ ว่าด้วยข้อห้าม หรือวินัย ของพระภิกษุณี

3. มหาวัคค์ ว่าด้วยพุทธประวัติตอนแรก และพิธีกรรมทางพระวินัย แบ่งออกเป็นขันกะ 10 หมวด

4. จุลลวัคค์ ว่าด้วยพิธีกรรมทางพระวินัย ความเป็นมาของพระภิกษุณี และประวัติการทำสังคายนา แบ่งออกเป็นขันธกะ 12 หมวด

5. บริวาร ว่าด้วยข้อเบ็ดเตล็ดทางพระวินัย เป็นการย่อหัวข้อสรุปเนื้อความ วินิจฉัยปัญหาใน 4 เรื่องข้างต้น

พระสุตตันตปิฎก มีอยู่ 5 หมวดด้วยกันคือ

1. ทีฆนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาขนาดยาว มี 34 สูตร

2. มัชฌิมนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาขนาดกลาง ไม่ยาวและไม่สั้นเกินไป มี 152 สูตร

3. สังยุตตนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนา ที่ประมวลธรรมะไว้เป็นพวก ๆ เรียกว่า สังยุต เช่นกัสสปสังยุต ว่าด้วยเรื่องของพระมหากัสสป โกศลสังยุต ว่าด้วยเรื่องในแคว้นโกศล มัคคสังยุต ว่าด้วยเรื่องมรรคคือข้อปฎิบัติ เป็นต้น มี 7,762 สูตร

4. อังคุตตรนิกาย ว่าพระพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาเป็นข้อ ๆ ตามลำดับจำนวน เช่น ธรรมะหมวด 1 ธรรมะหมวด 2 ธรรมะหมวด 10 แต่ละข้อก็มีจำนวนธรรมะ 1, 2, 10 ตามหมวดนั้น มี 9,557 สูตร

5. ขุททกนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาเบ็ดเตล็ด รวมทั้งภาษิตของพระสาวก ประวัติต่าง ๆ และชาดก รวบรวมหัวข้อธรรมที่ไม่จัดเข้าใน 4 หมวดข้างต้น แบ่งเป็นหัวข้อใหญ่มี 15 เรื่อง

พระอภิธรรมปิฎก แบ่งออกเป็น 7 เรื่องด้วยกันคือ

1. ธัมมสังคณี ว่าด้วยธรรมะ รวมเป็นหมวดเป็นกลุ่ม

2. วิภังค์ ว่าด้วยธรรมะแยกเป็นข้อ ๆ

3. ธาตุกถา ว่าด้วยธรรมะจัดระเบียบความสำคัญโดยถือธาตุเป็นหลัก

4. ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยบัญญัติ 6 ชนิด และแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติอันเกี่ยวกับบุคคล

5. กถาวัตถุ ว่าด้วยคำถามคำตอบในหลักธรรม จำนวนหนึ่งประมาณ 219 หัวข้อ เพื่อถือเป็นหลักในการตัดสินพระธรรม

6. ยมก ว่าด้วยธรรมะที่รวมเป็นคู่ ๆ

7. ปัฏฐาน ว่าด้วยปัจจัย คือสิ่งที่เกื้อกูลสนับสนุน 24 อย่าง


1. พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย สมัยเมื่อนิครนถ์ นาฎบุตร เจ้าลัทธิสำคัญคนหนึ่งสิ้นชีพ พวกสาวกเกิดแตกกัน พระจุนทเถระเกรงจะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ในพระพุทธศาสนา จึงพร้อมกับพระอานนท์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงตรัสบอกพระจุนทะ ให้รวบรวมธรรมภาษิตของพระองค์ และทำสังคายนา คือจัดระเบียบทั้งโดยอรรถและพยัญชนะ เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งมั่นต่อไป

2. พระสารีบุตรแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย ในห้วงเวลาเดียวกันนั้น ค่ำวันหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคแสดงธรรมจบแล้ว ได้มอบหมายให้พระสารีบุตรแสดงธรรมต่อ พระสารีบุตรได้แนะนำให้รวบรวม ร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 10 ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่ในหมวดนั้น ๆ พระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เห็นว่าบรรดาพระภิกษุทั้งหลายยังใคร่จะฟังธรรมต่อไปอีก พระองค์จึงได้มอบหมายให้พระสารีบุตร แสดงธรรมแทน พระสารีบุตรได้ แนะนำให้รวบรวมร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมวดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๑๐ ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่หมวด ๑ หมวด ๒ จนถึงหมวด ๑๐ ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง

3. พระมหากัสสป เป็นผู้ริเริ่มให้มีการสังคายนา จัดระเบียบพระพุทธวจนะให้เป็นหมวดหมู่

4. พระอานนท์เป็นผู้ที่ทรงจำพระพุทธวจนะไว้ได้มาก เป็นพุทธอุปฐาก ได้ขอพร หรือขอรับเงื่อนไขจาก พระพุทธเจ้า 8 ประการ ในเงื่อนไขประการที่ 7 และประการที่ 8 มีส่วนช่วยในการ สังคายนาพระธรรมวินัยมาก กล่าวคือ

ประการที่ 7 ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ขอให้ได้เข้าเฝ้าทูลถามเมื่อนั้น
ประการที่ 8 ถ้าพระองค์แสดงข้อความอันใด ในที่ลับหลังข้าพระองค์ ครั้นเสด็จมาแล้ว จักตรัสบอกข้อความอันนั้น แก่ข้าพระองค์

ทั้งนี้โดยเฉพาะประการที่ 8 อันเป็นข้อสุดท้ายมีเหตุผลว่า ถ้ามีใครถามท่านในที่ลับหลัง พระพุทธเจ้าว่า คาถานี้ สูตรนี้ ชาดกนี้ พระผู้มีพระภาดแสดงที่ไหน ถ้าพระอานนท์ตอบไม่ได้ ก็จะมีผู้กล่าวว่า พระอานนท์ตามเสด็จพระศาสดาไปดุจเงาตามตัว แม้เพียงเรื่องเท่านี้ก็ไม่รู้

ดังนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระอานนท์จึงได้รับหน้าที่ตอบคำถามเกี่ยวกับพระธรรม ในคราวสังคายนาครั้งแรก หลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือน

ในสมัยที่ยังไม่มีการจดจารึกเรื่องราวไว้ เป็นตัวอักษรอย่างกว้างขวางเช่นในปัจจุบัน มนุษย์จึงต้องอาศัยความจำเป็นเครื่องสำคัญ ในการบันทึกเรื่องราวนั้น ๆ ไว้ แล้วบอกเล่าต่อ ๆ กันมา การทรงจำและบอกต่อ ๆ กันมาด้วยปากนี้ เรียกว่า มุขปาฐะ

วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

ทรงสำแดงยมกปาฏิหาริย์

ปางแสดงยมกปาฏิหาริย์ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) บนบัลลังก์ ห้อยพระบาททั้งสองวางบนดอกบัวที่รองรับ พระชานุ (เข่า) ยกตั้งแบบประทับบนพระเก้าอี้ พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) จีบนิ้วพระหัตถ์

เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยน้ำปานะเสร็จ ทรงรับสั่งให้นายคัณฑะนำเม็ดมะม่วงไปปลูก เมื่อทรงล้างพระหัตถ์ลงบนปากหลุม เม็ดมะม่วงก็เจริญเติบโตออกผลเต็มต้นเป็นอัศจรรย์ ต้นมะม่วงนั้นมีชื่อว่า คัณฑามพฤกษ์ ตามชื่อของนายคัณฑะ พระพุทธองค์ทรงเนรมิตจงกรมแก้วในอากาศเหนือต้นมะม่วง แล้วเสด็จขึ้นสู่ที่จงกรมนั้น ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ (อ่านว่า ยะ - มะ - กะ - ปา - ติ - หาน) หรือการทำปาฏิหาริย์ให้บังเกิดเป็นคู่ ๆ โดยวิธีต่าง ๆ คือ มีท่อน้ำและท่อไฟพุ่งมา จากส่วนต่าง ๆ ของพระวรกายสลับกันไป ท่อไฟที่พุ่งออกมานั้นมีฉัพพรรณรังสี คือ มี 6 สีสลับกัน เมื่อกระทบกับสายน้ำมีแสงสะท้อนสวยงามมาก ทรงเนรมิตพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมาอีกพระองค์หนึ่ง ทรงให้พุทธเนรมิตแสดงพระอาการสลับกันกับพระพุทธองค์ เมื่อพระพุทธองค์ทรงยืน พระพุทธเนรมิตก็เสด็จจงกรม เมื่อพระพุทธองค์เสด็จจงกรม พระพุทธเนรมิตก็ทรงยืน เมื่อทรงตั้งปัญหาถามพระพุทธเนรมิตก็ตรัสวิสัชนาแก้ สลับกันไป พระพุทธองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์สลับกับการแสดงพระธรรมเทศนา พุทธบริษัททั้งหลายเกิดความเลื่อมใสและได้บรรลุธรรมเป็นจำนวนมาก
ทรงสำแดงยมกปาฏิหาริย์ข่มพวกเดียรถีย์
ที่ต้นมะม่วงคัณฑามพฤกษ์

และเมื่อใกล้ครบ 4 เดือนพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จไปยังกรุงสาวัตถี โดยมีประชาชนจากแคว้นต่างๆ ได้ไปรอดูการแสดงฤทธิ์ของพระพุทธเจ้าอย่างเนืองแน่น กินอาณาบริเวณถึง 36 โยชน์(ตามอรรถกถา) ครั้นเวลาบ่าย พระพุทธองค์ก็ทรงเริ่มทำยมกปาฏิหาริย์ มีอาการเป็นคู่ๆ (ยมก แปลว่า คู่ หรือ สอง ยมกปาฏิหาริย์ คือ การแสดงคู่ น้ำคู่กับไฟ คือ เวลาแสดง ท่อน้ำใหญ่พุ่งออกจากพระกายเบื้องบนของพระพุทธเจ้า เปลวไฟพุ่งเป็นลำออกจากพระกายเบื้องล่าง เป็นต้น)