วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒



ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ 
[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้ว เพียงใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์. อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาติ นี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา. [๑๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมมเทวดาได้ บันลือเสียงว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ ใครๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้. เทวดาชั้นจาตุมหาราช ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป. เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป. เทวดาชั้นยามา ... เทวดาชั้นดุสิต ... เทวดาชั้นนิมมานรดี ... เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี ... เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดีแล้ว ก็ บันลือเสียงต่อไปว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว

ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้. ชั่วขณะการครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้แล. ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อ ของท่านพระโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้.

http://etipitaka.com/read/thai/4/19/?keywords=%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4

วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

ตถาคต - สุขอันยิ่งใหญ่

๑ ตถาคต แปลว่า ไปอย่างนั้นหรือมาอย่างนั้น มีความหมายหลายนัย เช่น ไปหรือมาอย่างบุคคลผู้
ขวนขวายเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลก ไปหรือมาด้วยการเพิกถอนกิเสสได้ด้วยกำลังแห่งสมถะและวิปัสสนา
ไปหรือมาด้วยการกำจัดทุกข์ทั้งปวงได้ ไปหรือมาด้วยการปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ในที่นี้ใช้เป็น
คำแสดงคุณลักษณะของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าไปอย่างนั้นหรือมาอย่างนั้น (ขุ.ขุ.อ. ๖/๑๗๒)
๒ สุขอันยิ่งใหญ่ ในที่นี้หมายถึงความสุขอันโอฬารคือพระนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๗/๘๗) ดู ขุ.ธ. แปลในเล่มนี้
ข้อ ๒๙๐ หน้า ๑๒๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๑๔ }

http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd25.htm

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อัศจรรย์วันมาฆะ

เหตุอัศจรรย์ขึ้นพร้อมๆ กันถึง 4 ประการ อันได้แก่
1.วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์

2.มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

3.พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6
4.พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือ "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"

และเพราะเกิดเหตุอัศจรรย์ 4 ประการข้างต้น ทำให้วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งคำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" นี้ มีความหมายตามการแยกศัพท์คือ

จาตุร แปลว่า 4
องค์ แปลว่า ส่วน
สันนิบาต แปลว่า ประชุม

http://hilight.kapook.com/view/20696

พระพุทธรูปประจำวันเสาร์



ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ ทรงหงายพระหัตถ์ทั้งสอง
แบวางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้าย มีพญานาคแผ่พังพาน
ปกคลุมเบื้องพระเศียร

ประวัติและความสำคัญ
ครั้นพระพุทธองค์เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ร่มไม้อชปาลนิโครธสิ้น ๗ วัน แล้ว
พระองค์ก็เสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขยังร่มไม้จิก อันมีชื่อว่า มุจจลินท์ ซึ่งตั้งอยู่ด้าน
ทิศอาคเนย์ของต้นพระศรีมหาโพธิ์
วันนั้นเกิดฝนตกพรำอยู่ไม่ขาดสายตลอด ๗ วัน พญานาคมุจจลินท์ ผู้เป็นราชาแห่งนาค
ได้ออกจากนาคพิภพ ทำขนดล้อมพระวรกาย ๗ ชั้น แล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเบื้องบน
เหมือนกั้นเศวตฉัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความประสงค์มิให้ฝนและลมหนาวสาด
ต้องพระวรกาย ทั้งป้องกันเหลือบ ยุง บุ้ง ร่าน ริ้น และสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวลด้วย
ครั้งฝนหายแล้ว พญามุจจลินท์นาคราช จึงคลายขนดจากที่ล้อมพระวรกาย
พระพุทธเจ้า จำแลงเพศเป็นมาณพน้อยยืนทำอัญชลีถวายนมัสการพระพุทธองค์ ในที่เฉพาะพระพักตร์ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า

สุโข วิเวโก ตุฏฺฐัสสะ สุตะธัมมัสสะ ปัสสะโต
อัพยาปัชชัง สุขัง โลเก ปาณะภูเตสู สัญญะโม
สุขา วิราคะตา โลเก กามานัง สะมะติกฺกะโม
อัสมิมานัสสะ วินะโย เอตัง เว ปะระมัง สุขัง ฯ




ความว่า ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว รู้เห็นสังขารทั้งปวง
ตามเป็นจริงอย่างไร ความเป็นคนไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นคนปราศจากความกำหนัด คือความก้าวล่วงกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขในโลก
ความนำออกเสียซึ่งอัสมินมานะ คือความถือตัวตนให้หมดได้นี้เป็นสุขอย่างยิ่ง
พระพุทธจริยาที่เสด็จประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ภายในวงขนดของพญานาคมุจจลินท์
นาคราชที่ขดแวดล้อมพระกายอยู่นี้ เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้นมา เรียกว่า
ปางนาคปรก
เรื่องพระปางนาคปรกนี้ นิยมสร้างเป็นพระนั่งบนขนดตัวพญานาคเหมือนเอานาคเป็น
บัลลังก์ดูสง่า องอาจเป็นพระเกียรติอำนาจของพระองค์อย่างหนึ่ง ได้ลักษณะเป็นอย่าง
พระเจ้าของพราหมณ์
ถ้าจะรักษาลักษณะของพระพุทธรูปตามประวัติ ก็จะเป็นไปอีกในลักษณะหนึ่งคือ
พระพุทธรูปจะมีพญานาคพันรอบพระวรกายด้วยขนดตัวพญานาคถึง ๔-๕ ชิ้น จนบังพระ
วรกายมิดชิด เพื่อป้องกันฝนและลม จะเห็นได้ก็เพียงพระเศียร พระศอ และพระอังสา
เป็นอย่างมาก ทั้งเบื้องบนก็มีหัวพญานาคแผ่พังพานปกคลุมอีกด้วย

คาถาสวดบูชา
ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา
โวโรเปตา เตน สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ คัพภัสสะ ฯ

พระพุทธรูปประจำวันศุกร์

พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ ทั้งสองประสานกันยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถีขวาทับพระหัตถ์ซ้าย

ในสัปดาห์ที่ 7 ภายหลังการตรัสรู้ พระพุทธองค์ได้เสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ที่ต้นเกตุ ุชื่อราชายตนะ ตลอด 7 วัน แล้วเสด็จกลับมาที่ต้นอชปาลนิโครธซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหาโพธิ์ จากนั้นทรงรำพึงถึงธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ว่า เป็นธรรมที่ละเอียด ประณีต สุขุม คัมภีรภาพยากที่จะมีใครๆ ตรัสรู้ตามได้ ทำให้น้อมพระทัยไปในการจะไม่ทรง แสดงธรรมแก่สรรพสัตว์ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบวารจิตเช่นนั้นของพระพุทธเช้า เลยกล่าวกับทวยเทพว่า คราวนี้โลกคงต้องฉิบหายแน่ จึงเข้าเฝ้าพระพุทธองค์และทูลอาราธนาให้พระองค์แสดงธรรรมโปรดเวไนยสัตว์ด้วย เพื่อบุคคลที่มีกิเลสธุลีในจิตใจน้อยจะได้รู้ธรรมที่พระองค์ได้สรัสรู้บ้างพระศาสดาเองทรงอาศัยพระทัยอันประกอบด้วยพระมหากรุณา จึงทรงรำพึงถึงธรรมเนียม ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตทรงกระทำภายหลังจากการตรัสรู้ ย่อมทรงแสดธรรมโปรดเวไนยสัตว์ ประดิษฐานพระศาสนาให้ตั้งมั่นแล้วจึงเสด็จดับขันธปรินิพพานจึงน้อมพระทัยไปเพื่อการแสดงธรรมสรรพสัตว์จากนั้นทรงพิจารณาอุปนิสัยของสรรพสัตว์ ก็ทรงทราบว่าแตกต่างกันออกไป บางเหล่าก็มีอุปนิสัยประณีต บางเหล่าก็ปานกลาง บางเหล่าก็หยาบ ที่มีอุปนิสัยดี มีกิเลสเบาบาง มีบารมีที่สั่งสมอบรมมาแล้วซึ่งพอที่จะตรัสรู้ธรรมตามพระองค์ได้ก็มี ผู้ที่มีอินทรีย์แก่กล้าก็มีผู้มีอินทรีย์ยังอ่อนก็มี ผู้ที่จะพึงแนะนำสั่งสอนได้โดยง่ายก็มี ผู้ที่จะแนะนำได้โดยยากก็มี ผู้สามารถจะรู้ได้ก็มี เปรียบเหมือนประทุมชาติบางเหล่าที่โผล่พ้นเหนือน้ำพร้อมจะผลิบาน เมื่อได้รับสุรีย์แสงก็มี บางเหล่าก็ยังอยู่เสมอน้ำก็มี บางเหล่ายังจมอยู่ในน้ำก็มีเมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาด้วยพระปรีชาญาณ หยั่งทราบเวไนยสัตว์ผู้จะได้รับประโยชน์จากพระธรรมเทศนาแล้วก็ทรงอธิษฐานพระทัยในอันจะแสดงธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์และตั้งพุทธปณิธานที่จะดำรงพระชนม์อยู่จนกว่าจะได้ประกาศพระศาสนาให้แพร่หลายและตั้งมั้นเสียก่อนท้าวสหัมบดีพรหมได้ทรงถึงพุทธปณิธานและเห็นว่าทรงรับอาราธนาในการเผยแผ่พระธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สพรรพสัตว์แล้ว จึงกลับไปยังพรหมโลกด้วยพุทธจริยาที่ทรงรำพึงถึงธรรมที่จะทรงแสดงโปรดชนนิกรผู้เป็นเวไนยบุคคลดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้มีการสร้างพระพุทธรูปปางรำพึงขึ้น และใช้เป็นปางพระพุทธรูป บูชา สำหรับผู้ที่เกิดวันศุกร์
http://www.watdhammapateep.com/Buddha%20image/Buddha%20image_Friday.html
ต้นเกตุ
ต้นอชปาลนิโครธหรือต้นไทร
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ 

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

พระพุทธเจ้าเปิดโลก

 
วันที่พระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์นั้น พระองค์ได้แสดงปาฏิหาริย์อีกครั้งหนึ่ง คือขณะ ที่พระองค์ประทับยืนอยู่ที่บันไดแก้ว ทรงทอดพระเนตรไปทางทิศเบื้องบน เทวโลกและพรหมโลกก็เปิด มองเห็นโล่ง เมื่อทรงทอดพระเนตรไปในทิศเบื้องต่ำ นิรยโลกทั้งหลายก็เปิดโล่ง ในครั้งนั้น สวรรค์ มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างก็เห็นซึ่งกันและกันทั่วจักรวาล ภาพนี้อยู่ในเหตุการณ์ตอนเดียวกับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกเหตุ การณ์ตอนนี้ว่าพระพุทธเจ้าทรงเปิดโลก โลกที่ทรงเปิดในเหตุการณ์คราวนี้มี ๓ โลก คือ เทวโลก มนุษย โลก และยมโลก เทวโลก หมายถึง ตั้งแต่พรหมโลกลงมาจนถึงสวรรค์ทุกชั้น มนุษย์โลกก็คือโลกมนุษย์ และ ยมโลกซึ่งอยู่ทางเบื้องต่ำ คือ นรกทุกขุมจนกระทั่งถึงอเวจีมหานรก พระพุทธเจ้าขณะเสด็จลงจากสวรรค์ ทอดพระเนตรดูเบื้องบนโลกทั้งมวลตั้งแต่มนุษย์ก็สว่าง โล่งขึ้นไปถึงเทวโลก เมื่อทรงเหลียวไปรอบทิศรอบด้านสากลจักรวาลก็โล่งถึงกันหมด และเมื่อทอดพระเนตร ลงเบื้องล่าง ความสว่างก็เปิดโล่งลงไปถึงนรกทุกขุม ผู้อาศัยอยู่ในสามโลกต่างมองเห็นกัน มนุษย์เห็นเทวดา เทวดาเห็นมนุษย์ มนุษย์และเทวดา เห็นสัตว์นรก สัตว์นรกเห็นเทวดาและมนุษย์ แล้วต่างเหลียวมองดูพระพุทธเจ้าผู้เสด็จลงจากสวรรค์ด้วยพระ เกียรติยศอันยิ่งใหญ่ คัมภีร์ธรรมบทที่พระพุทธโฆษาจารย์เป็นผู้แต่งบอกว่า "วันนี้คนทั้งสามโลกได้เห็นแล้ว ที่ไม่ อยากเป็นพระพุทธเจ้านั้นไม่มีเลยสักคน" ปฐมสมโพธิพรรณนาไว้ยิ่งกว่านี้เสียอีก คือว่า "ครั้งนั้นเทพยดามนุษย์แลสัตว์เดรัจฉาน กำหนดที่สุดมดดำมดแดง ซึ่งได้เห็นองค์พระชินสีห์ แลสัตว์คนใดคนหนึ่งซึ่งจะมิได้ปรารถนาพุทธภูมินั้นมิได้มีเป็นอันขาด" พุทธภูมิ คือ ความเป็นพระพุทธเจ้า
http://www.84000.org/tipitaka/picture/f65.html

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

มหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษ32ประการ

มหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษ

             ๑. ขอเดชะ ก็ พระราชกุมารนี้มีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดี
(เรียบเสมอ) ข้าแต่สมมติเทพ การที่พระราชกุมารนี้มีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดี
นี้เป็นมหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษนั้น ฯ
             ๒. ณ พื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒ ของพระราชกุมารนี้ มีจักรเกิดขึ้น
มีซี่กำข้างละพัน มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ข้าแต่สมมติเทพ แม้
การที่พื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒ ของพระราชกุมารนี้มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำข้างละพัน
มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง นี้ก็เป็นมหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษนั้น ฯ
             ๓. มีส้นพระบาทยาว ฯ
             ๔. มีพระองคุลียาว ฯ(พระองคุลี หมายถึง นิ้วมือ)
             ๕. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม ฯ
             ๖. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย ฯ
             ๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ ฯ
             ๘. มีพระชงฆ์รีเรียวดุจแข้งเนื้อทราย ฯ(พระชงฆ์หมายถึงแข้ง )

             ๙. เสด็จสถิตยืนอยู่มิได้น้อมลง เอาฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบคลำได้ถึง
พระชาณุทั้งสอง ฯ(พระชานุหมายถึงเข่า)

             ๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก ฯ
             ๑๑. มีพระฉวีวรรณดุจวรรณแห่งทองคำ คือ มีพระตจะประดุจหุ้มด้วย
ทอง ฯ
             ๑๒. มีพระฉวีละเอียด เพราะพระฉวีละเอียด ธุลีละอองจึงมิติดอยู่ใน
พระกายได้ ฯ
             ๑๓. มีพระโลมชาติเส้นหนึ่งๆ เกิดในขุมละเส้นๆ ฯ
             ๑๔. มีพระโลมชาติที่มีปลายช้อยขึ้นข้างบน มีสีเขียว มีสีเหมือนดอก
อัญชัญ ขดเป็นกุณฑลทักษิณาวัฏ ฯ
             ๑๕. มีพระกายตรงเหมือนกายพรหม ฯ
             ๑๖. มีพระมังสะเต็มในที่ ๗ สถาน ฯ
             ๑๗. มีกึ่งพระกายท่อนบนเหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของสีหะ ฯ
             ๑๘. มีระหว่างพระอังสะเต็ม ฯ (พระอังสา หมายถึง บ่า)
             ๑๙. มีปริมณฑลดุจไม้นิโครธ วาของพระองค์เท่ากับพระกายของพระองค์
พระกายของพระองค์เท่ากับวาของพระองค์ ฯ
             ๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากัน ฯ
             ๒๑. มีปลายเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารอันดี ฯ
             ๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์ ฯ(พระหนุ หมายถึง คาง)
             ๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ ฯ
             ๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน ฯ(พระทนต์ หมายถึง ฟัน)
             ๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่าง ฯ
             ๒๖. มีพระทาฐะขาวงาม ฯ(พระทาฐะ หมายถึง เขี้ยว)
             ๒๗. มีพระชิวหาใหญ่ ฯ(พระชิวหา หมายถึง ลิ้น)
             ๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงแห่งพรหม ตรัสมีสำเนียงดังนกการวิก ฯ
             ๒๙. มีพระเนตรดำสนิท (ดำคม) ฯ
             ๓๐. มีดวงพระเนตรดุจตาแห่งโค ฯ (พระเนตร หมายถึง ตา)
             ๓๑. มีพระอุณาโลมบังเกิด ณ ระหว่างแห่งขนง มีสีขาวอ่อนควร
เปรียบด้วยนุ่น ฯ(พระอุณาโลม หมายถึง ขนระหว่างคิ้ว)
             ๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ (พระเศียร หมายถึง หัว)



พระสุตตันตปิฎก
เล่ม ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. มหาปทานสูตร (๑๔) http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=0&Z=1454


ประมวลคำราชาศัพท์_หมวดร่างกาย
สมเกียรติ คำแหง รวบรวมhttp://www.gotoknow.org/posts/325498