วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ทศพลญาณ

ทศพลญาณ (บาลีเรียก ตถาคตพลญาณ 10 คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต 10 ประการ ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง — the Ten Powers of the Perfect One)
       1. ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฏธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมเกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างๆ กัน — knowledge of instance and no instance; knowledge of possibilities and impossibilities)
       2. กรรมวิปากญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน — knowledge of ripening of action; knowledge of the results of karma)
       3. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ คือรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างไร — knowledge of the way that leads anywhere; knowledge of the practice leading to all destinies and all goals)
       4. นานาธาตุญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นเอนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิการปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น — knowledge of the world with its many and different elements)
       5. นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน — knowledge of the different dispositions of beings)
       6. อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่ายหรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ — knowledge of the state of faculties of beings; knowledge of the inferiority and superiority of the controlling faculties of various beings; knowledge as regards maturity of persons)
       7. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ่ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติทั้งหลาย — knowledge of defilement, cleansing and emergence in the cases of the meditations, liberations, concentrations and attainments)
       8. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้ — knowledge of the remembrance of former existences)
       9. จุตูปปาตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม -- knowledge of the decease and rebirth of beings)
       10. อาสวักขยญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย — knowledge of the exhaustion of mental intoxicants)

M.I.69;
A.V.33;
Vbh.336.
ม.มู. 12/166/140;
องฺ.ทสก. 24/21/35;
อภิ.วิ. 35/839/454.

[***] ทศพิธราชธรรม ดู [326] ราชธรรม 10.
[***] ธรรมจริยา 10 เป็นอีกชื่อหนึ่งของ [320] กุศลกรรมบถ 10.
[***] ธรรมมีอุปการะมาก 10 ดู [324] นาถกรณธรรม 10.

http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=323


ปรีชาหยั่งรู้ 10 ประการของพระพุทธเจ้า
1. ฐานาฐานญาณ ปรีชาหยั่งรู้ ฐานะและอฐานะ รู้กฎธรรมชาติ
2. กรรมวิปากญาณ ปรีชาหยั่งรู้ ผลของกรรม
3. สัพพัตถคามินีปฎิปทาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติ (ทั้งสุขคติและทุคติ)
4. นานาธาตุญาณ ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ หน้าที่ของขันธ์ธาตุ รู้เหตุแห่งความ
แตกต่างกันของสิ่งทั้งสิ่งทั้งหลาย
5. นานาธิมุตติกญาณ ปรีชาหยั่งรู้ อธิมุติ คือรู้อัธยาศัย ความโนมเอียง ความสนใจ ของสัตว์ทั้งหลาย
6. อินทริยปโรปริยัตตญาณ ปรีชาหยั่งรู้ ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย ว่ามีอินทรีย์อ่อนหรือแก่กล้า มีความพร้อมที่จะเข้าสู่การตรัสรู้หรือไม่
7. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชาหยั่งรู้ เหตุที่จะทำให้ฌานวิโมกข์และสมาบัติเสื่อมหรือเจริญก้าวหน้า
8. ปุพเพนิเวสานุสสติญาณ ปรีชาหยั่งรู้ ระลึกชาติภพในหนหลังได้
9. จุตูปปาตญาณ ปรีชาหยั่งรู้ การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรมที่สร้าง
10. อาสวักขยญาณ ปรีชาหยั่งรู้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ม.มู.12/166,อง.ทสก.24/21 อภิ.วิ.35 / 839 – 848 วิภง.ค.อ. 520,550-607

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ฉัพพรรณรังสี 6

ฉัพพรรณรังสี คือสีที่แผ่ออกจากพระวรกายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มี ๖ สี คือ 1 โอตาทะกัง ขาว 2 ปีตัง เหลือง 3 โลหิตัง แดง 4 นีลัง เขียว 5 มัญเญถ ชมพู 6 ปภัสสร เลื่อมพราย แสงเหล่านี้เรียกอีกอย่างว่า วรรณรังสี (แสงออร่า) ซึ่งทั้ง ๖ สีถือว่า เป็นสีมงคลของชาวพุทธ

พระพุทธรูปประจำวันอังคาร


ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถบรรทมตะแคงขวา เมื่อคราวจะปรินิพพาน หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทอดทายไปตามพระวรกายเบื้องซ้าย
พระหัตถ์ขวาหงายวางอยู่ที่พื้นข้างพระวรกาย พระบาทซ้ายทับพระบาทขวา
ลักษณะตั้งซ้อนกัน

ประวัติและความสำคัญ
พระพุทธเจ้าครั้นโปรดสุภัททปริพาชกให้บรรพชาอุปสมบทและให้สำเร็จเป็น
พระอริยเจ้าเป็นปัจฉิมสาวกแล้ว ต่อมาพระอานนท์จึงได้ทูลถามพระองค์ว่า พระฉันนะ
ถือตัวว่าเป็นข้าเก่า ติดตามพระองค์คราวเสด็จออกบวช เป็นคนว่ายากสอนยาก แม้จะกรุณา
เตือนแล้วก็ตาม เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ยิ่งจะว่ายากขึ้นไปอีก หาผู้ยำเกรงมิได้ ข้าพระองค์จะพึงปฏิบัติต่อพระฉันนะนั้นอย่างไร
พระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งให้สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ คือ ไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงโอวาท ไม่พึงสั่งสอน เมื่อถูกพรหมทัณฑ์แล้ว จะสำนึกผิดเอง ครั้นแล้วพระพุทธเจ้า
ได้ตรัสปัจฉิโมวาท เตือนว่า
ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรม
เธอทั้งหลาย จงทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ ด้วยความไม่ประมาทเถิด
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว ในลำดับแห่งการพิจารณา
องค์แห่งจตุถฌาน ก็บังเกิดมหัศจรรย์แผ่นดินใหญ่ไหวสะเทือนสะท้าน เกิดการโลมชาติ
ชูชันขันพองสยองเกล้า กลองทิพย์ก็บันลือลั่นในอากาศ พร้อมกับการปรินิพพานของ
พระพุทธเจ้า
บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายพากันเศร้าโศก ร่ำไห้ คร่ำครวญถึงพระองค์พระอานนท์
และพระอนุรุทธเถระได้แสดงธรรมเพื่อปลอบโยนมหาชน
พุทธศาสนิกชนเมื่อรำลึกถึงการเสด็จปรินิพพานของพระองค์ จึงได้สร้าง
พระพุทธรูปปางนี้ขึ้น เพื่อบูชาพระพุทธองค์

คาถาสวดบูชา
ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต สุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ เอวะมาทิคุณูเปตัง
ปะริตตันตัมภะณามะ เส ฯ

*พรหมทัณฑ์ คือ โทษอย่างสูง คือ สงฆ์ตกลงกันลงโทษภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง โดยภิกษุทั้งหลายพร้อมใจกันไม่พูดด้วย ไม่ว่ากล่าวตักเตือน หรือสั่งสอนภิกษุรูปนั้น,

วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ปัญจมหานที นัมมทานที เบญจสุทธคงคา นทีสีทันดร กกุธานที

ในจำนวนแม่น้ำทั้ง ๕ สายนั้น แม่น้ำคงคา หรือแม่คงคา เป็นแม่น้ำที่สำคัญมากที่สุด แม่คงคาอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดียที่เรียกว่า มัธยมประเทศ แม่คงคาไหลลงมาจากเขาหิมาลัยที่ปกคลุมด้วยหิมะ ซึ่งสมมุติว่าเป็นสวรรค์ ในมหากาพย์มหาภารตะ กล่าวว่า แม่คงคาไหลออกมาจากนิ้วหัวแม่เท้าของพระวิษณุเพื่อมาล้างบาปให้มนุษย์ แม่คงคาในสวรรค์ไหลลงมาจากปากถ้ำน้ำแข็งเหนือเทวาลัยคงโคตริและมาออก ณ ที่ซึ่งมีชื่อว่าหริทวาร ประวัติของแม่น้ำคงคาปรากฏอยู่ในคัมภีร์ทางศาสนาและทางวรรณคดีหลายเรื่องต่างๆกันไป แต่ทั้งหมดต่างถือว่าแม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถชำระล้างบาปให้แก่ผู้ที่ได้อาบกิน แม้เมื่อสิ้นชีวิตแล้วก็ยังต้องการให้เผาศพที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ให้กระดูกและเถ้าลงไปอยู่กับแม่คงคา แม่น้ำคงคาตอนต้นน้ำมีเกาะแก่ง มีโขดหิน และมีขนาดใหญ่นัก ต่อเมื่อไหลลงมาถึงเมืองอัมหบัดแล้วจึงมีขนาดกว้างขึ้น และไหลมารวมกับแม่น้ำใหญ่อีกสายหนึ่งที่มีชื่อว่า แม่น้ำยมุนา ณ ที่ที่แม่น้ำ ๒ สายมาบรรจบกันนี้ชาวอินเดียเชื่อว่ามีแม่น้ำอีกสายหนึ่งเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ คือ แม่น้ำสรัสวดีไหลมาทางใต้ดินและโผล่ขึ้นมารวมกับแม่น้ำคงคาและแม่น้ำยมุนา เป็นแม่น้ำที่มารวมกัน ๓ สาย จึงเรียกที่นั้นว่า จุฬาตรีคูณ ชาวฮินดูถือว่าจุฬาตรีคูณเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จึงพากันมาอาบกินน้ำแม่คงคา ณ ที่นั้นเพื่อล้างบาป

นทีสีทันดร แม่น้ำที่คั่นอยู่ระหว่างภูเขา ๗ ลูก ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ หนังสือเตภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วงกล่าวถึงเขาพระสุเมรุว่า มีภูเขาน้อยๆล้อมอยู่ ๗ ชั้น ภูเขาที่อยู่ใกล้เขาพระสุเมรุที่สุด จะสูงที่สุด ภูเขาที่ห่างออกมาจะสูงลดหลั่นลงไปจนถึงภูเขาที่อยู่นอกสุดจะเตี้ยที่สุด และระหว่างแนวภูเขาแต่ละแนวจะมีแม่น้ำคั่น เรียกรวมแม่น้ำทั้งหมดนั้นว่า สีทันดรสมุทร หรือนทีสีทันดร ลักษณะสำคัญของนทีสีทันดร คือ น้ำใสบริสุทธิ์ที่สุด จนถึงขนาดที่ขนนกที่เบาที่สุดตกลงไปก็จะจมทันที ผู้ที่สามารถข้ามนทีสีทันดรได้มีแต่พญาครุฑเท่านั้น เพราะพญาครุฑมีกำลังมหาศาลจะบินผ่านแม่น้ำไปได้โดยไม่หมดกำลังเสียก่อน

กกุธานที เป็นชื่อแม่น้ำที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปพักพระวรกายขณะเสด็จไปเมืองกุสินารา พระอานนท์ที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้าอยู่ได้กราบทูลเชิญให้พักเพื่อเสวยพระกระยาหารและสรงพระวรกาย และวันนั้นเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน

นัมมทานที เป็นแม่น้ำที่พระพุทธเจ้าได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ริมฝั่ง รอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนี้เกิดจากการที่พญานาคได้ทูลอัญเชิญพระพุทธเจ้าให้ประทานไว้เพื่อให้หมู่มนุษย์และสัตว์ได้บูชา พระราชพิธีจองเปรียง ลดชุด ลอยโคม ลอยพระประทีป ซึ่งกระทำขึ้นในเดือน ๑๒ ก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทนี้ ปัจจุบันเมื่อมีพิธีลอยกระทงในวันเพ็ญเดือน ๑๒ คนส่วนมากก็มักเชื่อว่าการลอยกระทงที่มีการจุดธูปเทียนด้วยนั้นก็เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ณ ฝั่งแม่น้ำนัมมทานที
เบญจสุทธคงคา เป็นคำเรียกรวมแม่น้ำ ๕ สาย ซึ่งมีน้ำที่บริสุทธิ์ น้ำจากแม่น้ำทั้ง ๕ สายนี้นำมาใช้เป็นน้ำสรงมูรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ น้ำที่ตักมาเป็นน้ำจากแม่น้ำเพชรบุรี ตอนตำบลท่าไชย น้ำจากแม่น้ำราชบุรี ตักที่ตำบลดาวดึงส์ น้ำจากแม่น้ำป่าสัก ตักที่ตำบลท่าราบ สระบุรี น้ำจากแม่น้ำบางปะกง ตักที่บึงพระอาจารย์ เมืองนครนายก และน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ตักที่ตำบลบางแก้ว อ่างทอง ส่วนในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตักน้ำจากแม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำราชบุรี แม่น้ำนครไชยศรี แม่น้ำฉะเชิงเทรา และแม่น้ำเจ้าพระยา

-ข้อมูลจาก http://www.sakulthaionline.com/

คอลัมนิสต์/นักเขียน:
ชื่อคอลัมน์:
ภาษาไทยวันนี้
 

แม่น้ำสายต่างๆ ในชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล



แม่น้ำสายต่างๆ ในชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล ที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า และถูกบันทึกลงในพระพุทธประวัติ ที่นำมาประมวลไว้ ณ ที่นี้มีดังนี้
๑. กิมิกาฬา พระมหาสาวกเมฆิยะ ผู้เคยเป็นพระอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า คราวหนึ่งได้เห็นส่วนมะม่วมริมฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬน่ารื่นรมย์จึงขอลาพระพุทธเจ้าไปบำเพ็ญเพียร ณ ที่นั้น พระพุทธเจ้าห้ามไม่ฟังพระเมฆิยะไปบำเพ็ญเพียรถูกอกุศลวิตกต่าง ๆ รบกวน ในที่สุดต้องกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังพระธรรมเทศนาเรื่องธรรม ๕ ประการสำหรับบ่มเจโตวิมุติ (การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ) จึงได้สำเร็จพระอรหัต
๒. กกุธานที ไหลผ่านดินแดนระหว่างเมืองปาวากับเมืองกุสินาราแคว้นมัลละ พระอานนท์ทูลเชิญเสด็จพระพุทธเจ้า เสด็จลงเสวยและชำระพระกายที่ตรากตรำมาในระยะทางจากเมืองปาวาไปเมืองกุสินาราในวันที่พระพุทธเจ้าทรงดับขันธปรินิพพาน
๓. คงคา เป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เกิดที่ภูเขาหิมพานต์ มีความยาวถึงประมาณ ๒,๕๐๐ กิโลเมตร ณ บริเวณลุ่มแม่น้ำคงคากับยมุนาบรรจบกันเป็นอาณาบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งที่ตั้งของนครและแว่นแคว้นที่มีความสำคัญ ๕ สายที่เรียกว่า ปัญจมหานที บรรดาแคว้นในมหาชนบท ๑๖ ที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำคงคามีดังนี้
แคว้นอังคะ ตั้งอยู่ปลายแม่น้ำคงคา
แคว้นมคธ ตั้งอยู่ใต้แม่น้ำคงคาตอนกลาง
แคว้นโกศล ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำคงคาตอนกลาง
แคว้นกาสี ตั้งอยู่ตอนบรรจบของแม่น้ำคงคาและยมุนา
แคว้นปัญจาละ ตั้งอยู่ตรงลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบนนครหลวงกัมปิละ ตั้งอยู่เหนือแม่น้ำคงคา
นอกจากนั้นนครมิถิลา เมืองหลวงของแคว้นวิเทหะ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำคงคา ตอนกลาง ตรงข้ามกับแคว้นมคธ


๔. คันธกะ แม่น้ำคันธกะไหลผ่านทางด้านทิศตะวันออกของแคว้นวัชชี ส่วนเมืองกุสินารานครหลวงของแคว้นมัลละ ตั้งอยู่ที่จุดบรรจบของแม่น้ำคันธกะ กับแม่น้ำอจิรวดี (หนึ่งในปัญจมหานที)

๕.โคธารวรี แคว้นอัสสกะ ตั้งอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำโคธาวรี พราหมณ์พาวรีอาจารญ์ใหญ่ตั้งอาศรมสอนไตรเพทอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวรี ณ สุด เขตแดนแคว้นอัสสกะ พราหมณพาวรีได้ส่งศิษย์ ๑๖ คนเดินทางไปถามปัญหาพระพุทธเจ้า ณ ปาสาณเจดีย์ ในแคว้นมคธ

๖. จัมปา แม่น้ำจัมปาไหลกั้นแดนระหว่างแคว้นมคธกับแคว้นอังคะ

๗. นัมมทา แม่น้ำนัมมทาไหลผ่านแคว้นสุนาปรันตะ พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา เมื่อพระพุทธเจ้าองค์เสด็จไปแสดงธรรมโปรดชาวสุนาปรันตะและนัมมทานาคราช นาคราชขอของที่ระลึกไว้บูชา จึงทรงประทับรอยพระบาทไว้นับเป็นรอยพระพุทธบาทที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก

๘. เนรัญชรา แม่น้ำเนรัญชราไหลผ่านแคว้นมคธ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมซึ่งตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำเนรัญชรา อันเป็นภูมิสถานที่สงบน่ารื่นรมย์พระมหาบุรุษทรงเลือกที่แห่งนี้เป็นที่บำเพ็ญเพียร ทรงประทับอยู่ ณ ที่นี้ นานถึง ๖ ปี พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา และเปลี่ยนมาทรงดำเนินในมัชณิมาปฏิปทา จนได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธญาณ ภายใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์ ในตำบลนี่ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราแห่งนี้

๙. ปัญจมหานที คือแม่น้ำสำคัญ ๕ สาย อันมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมพานต์ (หิมาลัย) ซึ่งแถบเชิงเขาปกคลุมไปด้วยป่าไม้ใหญ่มีฝนตกชุก เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสายไหลลงมาทางใต้ ปัญจมหานที (หรือปัญจนที) คือ ๑.แม่น้ำคงคา ๒.แม่น้ำยมุนา ๓. แม่น้ำอจิรวดี (หรือแม่น้ำรับดิ) ๔. แม่น้ำสรภู ๕.แม่น้ำมหี

๑๐.ภาคะรถี แม่น้ำภาคีรถีเป็นแควหนึ่งของแม่น้ำคงคาตอนบนแม่น้ำภาคีรถีไหลผ่านแคว้นปัญจาละ



๑๑. มหี แม่น้ำเป็นแม่น้ำสายหนึ่งในแม่น้ำสำคัญ ๕ สายที่เรียกว่าปัญจมหานที

๑๒. ยมุนา แม่น้ำยมุนาเป็นแม่น้ำสายหนึ่งในแม่น้ำสำคัญ ๕ สายที่เรียกว่า ปัญจมหานที บรรดาแคว้นในมหาชนบท ๑๖ ที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำยมุนามีดังนี้
แคว้นกาสี ตั้งอยู่ตอนบรรจบของแม่น้ำยมุนาและคงคา
แคว้นวังสะ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของแม่น้ำยมุนา นครหลงชื่อกรุงโกสัมพี ตั้งอยู่เหนือฝั่งแม่น้ำยมุนา
แคว้นกุรุ ตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำยมุนาตอนบน
แคว้นมัจฉะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสินธุกับตอนบน
แคว้นสุรเสนะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสินธุกับแม่น้ำยมุนาตอนล่าง

๑๓. โรหิณี แม่น้ำโรหิณีไหลผ่านเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างแคว้นศายะกับแคว้นโกลิยะ แคว้นทั้งสองได้เกิดกรณีพิพาทอันมีมูลเหตุจากการแย่งกันใช้น้ำจากแม่น้ำโรหิณีเพื่อทำการเกษตร จนเกือบจะเกิดสงคราม พระพุทธเจ้าทรงเสด็จมาระงับการวิวาทระหว่างพระญาติทั้ง ๒ ฝ่ายจนสงบลงได้
พระมหาสาวกอานนท์ซึ่งเป็นพระอุปัฏฐากประจำประองค์ของพระพุทธเจ้า เป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของเจ้าชายสิทธัตถะ ครั้นเมื่อพระอานนท์ดำรงชีวิตสืบมาจนอายุได้ ๑๒๐ ปี จึงปรินิพพานในอากาศเหนือแม่น้ำโรหิณี ซึ่งเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างแคว้นของพระญาติทั้งสองฝ่ายคือ ศากยะและโกลิยะ

 ๑๔. วัคคุมุทา พระมหาสาวกยโสชะ เป็นบุตรหัวหน้าชาวประมงใกล้ประตูเมืองสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนากปิลสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง มีความเลื่อมใสขอบวช ต่อมาไปเจริญสมณธรรมที่ริมฝั่งแม่น้ำวัคคุมาทา ได้สำเร็จพระอรหัต

๑๕. สรภู แม่น้ำสรภูเป็นแม่น้ำสายหนึ่งในแม่น้ำสำคัญ ๕ สายที่เรียกว่า ปัญจมหานที

๑๖. สัลลวตี แม่น้ำสัลลวตีเป็นแม่น้ำที่กั้นอาณาเขตมัชฌิมชนบทหรือถิ่นกลางที่มีความเจริญรุ่งเรือง กับปัจจันตชนบทหรือหัวเมืองชั้นนอกถิ่นที่ยังไม่เจริญ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ นับจากแม่น้ำสัลลวตีเข้ามาถือเป็นเขตมัชฌิมชนบท

๑๗. สินธุ แม่น้ำสินธุไหลผ่านแคว้นในมหาชนบท ๑๖ ดังนี้
แคว้นมัจฉะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสินธุกับแม่น้ำยมุนาตอนบน
แคว้นสุรเสนะ ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสินธุกับแม่น้ำยมุนาตอนล่าง
แคว้นคันธาระ ตั้งอยู่ทางลุ่มแม่น้ำสิธุตอนบน

๑๘. โสน แคว้นมคธตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำโสนกับแคว้นอังคะ โดยมีแม่น้ำคงคาอยู่ทางทิศเหนือ มีภูเขาวินทัยอยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันตก

๑๙.หิรัญวดี แม่น้ำหิรัญวดีนับเป็นแม่น้ำสายสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าเสด็จข้าม โดยพระพุทธองค์เสด็จไปเมืองกุสินาราในวันที่จะดับขันธปรินิพาน ทรงข้ามแม่น้ำหิรัญวดีเข้าสู่สาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำแห่งนี้ ณ สาลวโนทยาน พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานแม่น้ำหิรัญวดี ไหลลงไปบรรจบกับแม่น้ำสรภู

 ๒๐. อจิรวดี แม่น้ำอจิรวดี เป็นแม่น้ำสายหนึ่งในแม่น้ำสำคัญ ๕ สายที่เรียกว่าปัญจมหานที แม่น้ำอจิรวดี (หรือที่เรียกว่ารับดิ) มีพระนครสาวัตถี นครหลวงของแคว้นโกศลตั้งอยู่บนฝั่งลำน้ำ และจุดที่บรรจบของแม่น้ำอจิรวดีกับแม่น้ำคันธกะเป็นที่ตั้งของนครกุสินาราเมืองหลวงของแคว้นมัลละ

๒๑. อโนมา แม่น้ำอโนมากั้นพรมแดนระหว่งแคว้นสักะกับแคว้นมัลละ เมื่อพระสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา ทรงม้ากัณฐกะเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ยามเที่ยงคืน ครั้นยามเช่ามาถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา ตรัสสั่งให้นายฉันนะอำมาตย์คนสนิทนำม้าพระที่นั่งและเครื่องประดับสำหรับขัตติราชทั้งหมดกลับคืนพระนคร ทรงตัดพระเมลีด้วยพระขรรค์อธิฐานเพศพรรพชิต ณ ฝั่งแม่น้ำอนโนมานี้

๒๒. อสิคนี แม่น้ำอสิคนี หรือจันทรภาค ไหลผ่านแคว้นมัททะนครหลวงชื่อสาคละ ตั้งอยู่เหนือแม่น้ำอสิคนีหรือจันทรภาคบุตรแม่น้ำมหานที และแม่น้ำกฤษณาไว้อีกด้วย

-ขอบคุณข้อมูลจาก
ttp://www.dhammathai.org/buddha/g49.php
 

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้ครอบครองแก้ว 7 ประการ

แก้ว 7 ประการ
พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้ครอบครองแก้ว 7 ประการ อันได้แก่
จักรแก้ว (จกฺกรตฺตนํ)
เมื่อผู้ที่จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ พระองค์ทรงรักษาศีลอุโบสถ ชำระจิตให้สะอาดแล้วทรงทำสมาธิ จักรแก้วก็บังเกิดขึ้น ทำจากโลหะมีค่า ส่องแสงสว่างไสว แล้วพาพระเจ้าจักรพรรดิพร้อมเหล่าเสนาบดีลอยไปยังประเทศต่างๆ ในทวีปทั้ง 4 ประเทศต่างๆ ก็ยอมสวามิภักดิ์ ไม่มีการสู้รบกัน เมื่อจะถวายเครื่องบรรณาการพระเจ้าจักรพรรดิก็ไม่ยอมรับแต่พระราชทานโอวาทศีล 5 ให้
ช้างแก้ว (หตฺถีรตฺตนํ)
ช้างแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาช้าง มีชื่อว่า อุโบสถ สีขาวเผือก สง่างาม มีฤทธิ์เดชสามารถเหาะได้ คล่องแคล่วว่องไว ฝึกหัดได้เอง สามารถพาพระเจ้าจักรพรรดิไปรอบชมพูทวีป จรดขอบมหาสมุทร ได้ตั้งแต่เช้ารุ่ง และกลับมาทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า
ม้าแก้ว (อสฺสรตฺตนํ)
ม้าแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาม้า มีชื่อว่า วลาหกะ เป็นอัศวราชผู้สง่างาม ขนงาม มีหางเป็นพวง ตรงปลายคล้ายดอกบัวตูม มีฤทธิ์เดชเหาะเหินเดินบนอากาศได้ คล่องแคล่วว่องไง ฝึกหัดได้เอง สามารถพาพระเจ้าจักรพรรดิไปรอบชมพูทวีป จรดขอบมหาสมุทร ได้ตั้งแต่เช้ารุ่ง และกลับมาทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า
มณีแก้ว (มณิรตฺตนํ)
มณีแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นแก้วมณีเปล่งแสงสุกสกาว ใสแวววาวยิ่งกว่าเพชร เปล่งรังสีแสงสว่างไสวโดยรอบถึง 1 โยชน์ คอยบันดาลความอุดมสมบูรณ์ทุกอย่างให้บังเกิดขึ้น ดึงดูดสมบัติทั้งหลายมาให้ สามารถเลี้ยงคนได้ทั้งชมพูทวีปโดยไม่ต้องทำมาหากิน เมื่อพระมหาจักรพรรดิทรงทดลองแก้วมณีกับกองทัพ โดยติดแก้วมณีไว้บนยอดธงนำทัพ แก้วมณีก็เปล่งแสงสว่างไสว ทำให้กองทัพเดินทางได้สะดวกสบาย เหมือนเดินทัพในเวลากลางวัน
นางแก้ว (อิตถรตฺตนํ)
นางแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นหญิงที่มีบุญญาธิการ รูปร่างน่าดูชม ผิวพรรณเปล่งปลั่งผ่องใส สวยงามกว่ามนุษย์ทั่วไป พูดจาไพเราะ ไม่โกหก มีกลิ่นดอกบัวหอมฟุ้งออกจากปาก มีกลิ่นจันทน์หอมฟุ้งรอบกาย นางแก้วเป็นผู้คอยปรนนิบัติพระเจ้าจักรพรรดิอย่างไม่ขาดสาย ตื่นก่อนนอนทีหลังพระเจ้าจักรพรรดิ คอยฟังรับสั่งของพระเจ้าจักรพรรดิ ประพฤติชอบต่อพระเจ้าจักรพรรดิเสมอ
ขุนคลังแก้ว (คหปติรตฺตนํ)
คฤหบดีแก้ว หรือขุนคลังแก้ว สามารถนำทรัพย์สินมาให้แด่พระเจ้าจักรพรรดิได้ ขุมทรัพย์อยู่ที่ไหน ขุนคลังแก้วเห็นหมด
ขุนพลแก้ว (ปริณายกรตฺตนํ)
ปริณายกแก้ว หรือขุนพลแก้ว คือพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นขุนศึกคู่ใจ เป็นบัณฑิตนักปราชญ์ มีความฉลาดเฉลียว รู้สิ่งใดควรไม่ควร คอยให้คำแนะนำปรึกษาแด่พระเจ้าจักรพรรดิอยู่เสมอ

 อานิสงส์ผลบุญที่ทำให้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
  1. ทำบุญทำทานด้วยจิตใจงดงาม
  2. เป็นเจ้าในงานทอดกฐิน หรือเป็นเจ้าภาพในการสร้างวัด พระอุโบสถ พระวิหาร พระพุทธรูป ฯลฯ
  3. เป็นประธานในการเทศนาธรรม การสังคายนาพระไตรปิฏก ฯลฯ
  4. บูชาเจดีย์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


ความพิเศษของพระเจ้าจักรพรรดิ


พระเจ้าจักรพรรดิมีพระวรกายงดงามยิ่งกว่ามนุษย์ใดๆ
พระเจ้าจักรพรรดิมีอายุยืนกว่ามนุษย์ใดๆ
มีอาพาธน้อย เจ็บป่วยได้ยากกว่าคนทั่วไป
พระเจ้าจักรพรรดิเป็นที่รักของมนุษย์และ
เทวดา แม้แต่เทวดาก็ยังเกรงใจ

 ประเภทของพระเจ้าจักรพรรดิ

พระเจ้าจักรพรรดินั้นยังแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทอีก ได้แก่
จักรพรรดิทอง
คือ พระเจ้าจักรพรรดิที่ครอบครองทั้ง 4 ทวีป ตั้งแต่ประสูติ โดยมิต้องทำการรบพุ่งแย่งชิงมา
จักรพรรดิเงิน
คือ พระเจ้าจักรพรรดิที่ครอบครอง 3 ทวีป ตั้งแต่ประสูติ โดยมิต้องทำการรบพุ่งแย่งชิงมา
จักรพรรดิทองแดง
คือ พระเจ้าจักรพรรดิที่ครอบครอง 2 ทวีป แต่มิได้ครอบครองเช่นนี้มาตั้งแต่ประสูติ ต้องทำสงครามรบพุ่งแย่งชิงมา
จักรพรรดิเหล็ก
คือ พระเจ้าจักรพรรดิที่ครอบครองได้เฉพาะชมพูทวีป โดยทำสงครามรบพุ่งแย่งชิงมา ซึ่งพระจักรพรรดิเหล็กนี้เป็นสถานะพระจักรพรรดิที่เป็นไปได้ในโลกแห่งความจริง ซึ่งคติความเชื่อในเรื่องจักรพรรดิเหล็กนั้น ได้ปลูกฝังในระบอบคิดของกษัตริย์ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาเป็นหลักมาแต่ครั้งโบราณกาล

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ภัทรกัป

พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ในภัทรกัปตามคัมภีร์ของเถรวาท

          คำว่า "กัป" หมายถึง ระยะเวลาที่ยาวนานเหลือเกินที่กำหนดว่าโลกคือ
 สกลจักวาฬ ประลัยครั้งหนึ่ง
 คือกำหนดอายุของโลก ท่านให้เข้าใจด้วยอุปามาว่าเปรียบเหมือน
มีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ 1 โยชน์
 (๔๐๐ เส้นหรือประมาณ ๑๖ กิโลเมตร) ทุก 100 ปี
มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง
จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวกว่านั้น

           "กัป" ปัจจุบันนี้เรียกว่า "ภัททกัป" หรือ "ภัทรกัป" แปลว่า
 กัปเจริญ เพราะในภัททกัปจะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นถึง ๕ พระองค์ คือ
                    ๑. พระกกุสันธะ
                    ๒. พระโกนาคมนะ
                    ๓. พระกัสสปะ
                    ๔. พระโคดม (คือพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน)
                    ๕. พระศรีอริยเมตไตรย

           ในภัททกัปนี้จักมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในอนาคตอีกหนึ่ง พระองค์คือ
"พระศรีอริยเมตไตรย"

          บทนมัสการว่า "นโม พุทธาย" แปลตามศัพท์ว่า
"นอบน้อมแต่พระพุทธเจ้า"เป็นคำ กลาง ๆ แต่ก็นับถือกันว่าเป็น
บทไหว้พระพุทธเจ้า ๕ ประองค์ น่าจะเพราะนับได้ ๕ อักษร
และพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์นั้น ก็หมายถึง พระพุทธเจ้าซึ่งได้อุบัติแล้ว
และจักอุบัติในภัททกัปนี้


คัดมาจาก
          http://www.dhammathai.org/buddha/g21.php

 
กริยา
emergeออกมา, อุบัติ, ปรากฏตัว, พัฒนา, ใผล่ออกมา, มีตัวตน
take placeอุบัติ
happenเกิดขึ้น, ขึ้น, บังเอิญ, อุบัติขึ้น, อุบัติ, เป็นมา
ariseเกิดขึ้น, ลุกขึ้น, ดำเกิง, เป็นมา, อุบัติ
occurเกิดขึ้น, อุบัติ, ปรากฎขึ้น, บังเกิดขึ้น, มีขึ้นมีอยู่, ก่อกำเนิด
be bornชาตะ, ตกฟาก, ปฏิสนธิ, อุบัติ, ประสูติ
come aboutอุบัติ

        


ประวัติพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า  
ทรงมีพระนามว่า "กกุสันธะ"
ทรงถือกำเนิดในสกุลพราหมณ์ ในเขมนคร เป็นตระกูลใหญ่ที่ชาวโลกในขณะนั้นถือว่า ประเสริฐสูงสุดกว่าตระกูลอื่น ที่มีชาติสูงสุดและมียศมาก พุทธบิดาคือ “อัคคิทัตตะ” พุทธมารดาคือ “วิสาขา” มีปราสาท ๓ หลัง คือ “กามวัฑฒะ”, “กามสุทธิ” และรติวัฑฒะ ทรงครอบครองฆราวาสอยู่ ๔ พันปี ภรรยาชื่อว่า “โรปินี” บุตรนามว่า “อุตระ” ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยรถอันเป็นยานพาหนะ บำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม จึงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ไม้โพธิพฤกษ์ชื่อ “ไม้ซึก” ทรงแสดงปฐมเทศนาคือ พระธรรมจักร ณ มฤคทายวัน มีอัครสาวกคือ “พระวิธุรเถระ” และ “พระสัญชีวนามเถระ” พระเถระชื่อ “พุทธิชะ” เป็นพุทธอุปัฏฐาก พระอัครสาวิกาคือ “พระสามาเถรี” และ “พระจัมมปนามาเถรี” อุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก คือ “อัจจคตอุบาสก” และ “สุมนอุบาสก” อุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา คือ “นันทาอุบาสิกา” และ “สุนันทาอุบาสิกา” พระพุทธเจ้ากกุสันธะมีพระองค์สูง ๔๐ ศอก พระรัศมี มีสีเปล่งปลั่งดังทองคำ เปล่งออกไป ๑๐ โยชน์โดยรอบ
   http://www.phrabat.com/phrabat/Page/Content/5BD1.html    

        




        
      
          
http://www.crs.mahidol.ac.th/thai/buddhist121.htm

เสด็จลงจากดาวดึงส์


 พระมหาโมคคัลลานะทูลถามการเสด็จลง

กาลเมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงกระทำปาฏิหาริย์แล้วขึ้นไปสู่ดาวดึงส์เทวโลก ครั้งนั้น มหาชนทั้งหลายที่มาประชุมกันอยู่ในที่นั้นและดูพระพุทธสรีรกายหายไปในเทวโลก ก็เศร้าโศกปริเทวนาการว่า “พระบรมครูขึ้นไปสู่ภูเขาจิตรกูฏหรือไกรลาส หรือคันธมาสประการใด เราทั้งหลายมิได้เห็นพระองค์ในกาลบัดนี้” แล้วเข้าไปถามพระมหาโมคคัลลานะ “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระบรมครูแห่ง
เราเสด็จไปสถิตอยู่ ณ ที่แห่งใด” พระมหาเถระจึงกล่าวว่า “พวกท่านจงถามท่านพระอนุรุทธะก็จะทราบ” มหาชนก็ไปถามพระอนุรุทธเถระท่านก็บอกว่า “พระพุทธองค์ เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ในดาวดึงส์เทวโลก เพื่อจะตรัสพระธรรมเทศนาอภิธรรม ๗ คัมภีร์ โปรดพุทธมารดา” ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ก็เมื่อใดเล่าจะกลับมาสู่มนุษยโลก ดูกรท่านทั้งปวง พระบรมครูตรัสเทศนาพระอภิธรรมปิฎถ้วนไตรมาสแล้ว พอถึงวันปวารณาจึงจะกลับมายังมนุษยโลกนี้” ชนทั้งหลายจึงกล่าวแก่พระมหาโมคคัลลานะว่า “ถ้ามิได้เห็นองค์พระสัพพัญญู ข้าพเจ้าทั้งหลาย จะไม่ไปจากที่นี่” แล้วชวนกันพักแรม ตั้งทับและชมรมพักอาศัยมิได้มีหลังคา


ภาพจาก
http://cheechinkhor.org/?p=633

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความฝันของพระเจ้าปเสนทิโกศล และคำทำนายของพระพุทธเจ้าทั้ง 16 ประการ

ความฝันของพระเจ้าปเสนทิโกศล และคำทำนายของพระพุทธเจ้าทั้ง 16 ประการ มีดังนี้
1. ทรงฝันว่า มีโคตัวผู้สีเหมือนดอกอัญชัญ 4 ตัว
ต่างคิดจะชนกัน ก็พากันวิ่งมาสู่ท้องพระลานหลวงจาก 4 ทิศ ฝูงชนต่างรอดู โคทั้งสี่ก็ส่งเสียงคำรามลั่น แต่แล้วต่างก็ถอยออกไป ไม่ชนกัน - พระพุทธเจ้าได้ทรงทำนายว่า ในอนาคตในชั่วศาสนาของพระองค์ เมื่อโลกหมุนไปถึงจุดที่เสื่อมลง มนุษย์ไม่ตั้งอยู่ในศีลในธรรม ฝนฟ้าจักแล้ง ทุพภิกขภัยจักเกิดขึ้น คล้ายเมฆตั้งเค้าจะมีฝน มีเสียงคำรามกระหึ่ม แต่แล้วก็ไม่ตก กลับเลยหายไป เหมือนโคตั้งท่าจะชนกัน แต่ไม่ชนกันฉะนั้น


2. ทรงฝันว่า ต้นไม้เล็กๆ และกอไผ่ที่โตเพียงคืบบ้าง ศอกบ้าง ก็ออกดอกออกผลแล้ว - พระพุทธองค์ทรงทำนายว่า ต่อไปเมื่อโลกเสื่อม มนุษย์แม้จะมีอายุเยาว์ มีวัยยังไม่สมบูรณ์ก็จะมีราคะกล้า และสมสู่กันตั้งแต่อายุยังน้อย และจะมีลูกแต่เด็กๆ เหมือนต้นไม้เล็กๆ แต่ก็มีผลแล้ว


3. ทรงฝันว่า ทรงเห็นแม่โคใหญ่ๆ พากันดื่มนมของฝูงลูกโคที่เพิ่งเกิด - ทรงทำนายว่า ต่อไปในอนาคตการเคารพนบนอบผู้ใหญ่ เช่น พ่อแม่ ครูบาอาจารย์จะเสื่อมถอย คนเฒ่าคนแก่พ่อแม่เมื่อหมดที่พึ่ง หาเลี้ยงตนไม่ได้ ก็ต้องง้อ ต้องประจบเด็กๆ ดังที่แม่โคที่ต้องกินนมลูกโคฉะนั้น


4. ทรงฝันว่าผู้คนไม่ใช้วัวตัวใหญ่ ที่สมบูรณ์แข็งแรงเทียมแอกลากเกวียน กลับไปใช้โครุ่นๆ ที่ยังปราศจากกำลังมาลาก เมื่อมันลากเกวียนให้แล่นไม่ได้ มันก็สลัดแอกนั้นเสีย - ทรงทำนายว่า ในภายหน้าเมื่อผู้มีอำนาจไม่ตั้งอยู่ในธรรม แทนที่จะยกย่องและมอบหมายหน้าที่ ให้กับผู้มีสติปัญญา ความรู้ กลับไปมอบยศศักดิ์ให้กับคนหนุ่มที่อ่อนหัด ด้อยประสบการณ์ ทำให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ดี กิจการต่างๆ ก็ไม่สำเร็จ ก็เหมือนใช้โครุ่นมาเทียมแอก เกวียนก็แล่นไม่ได้ฉันใด ก็ฉันนั้น


5. ทรงฝันว่าเห็นม้าตัวหนึ่ง มีปากสองข้าง ฝูงชนก็เอาหญ้าไปป้อนที่ปากทั้งสองข้าง มันก็กินทั้งสองข้าง - ทรงทำนายว่า ในอนาคตเมื่อผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจไม่ดำรงอยู่ในธรรม ตั้งคนพาล หรือคนไม่มีศีลธรรมไว้ในตำแหน่งอันมีผลต่อผู้อื่น คนเหล่านั้นก็จะไม่นึกถึงบาปบุญ คุณโทษ แต่จะตัดสินคดีต่างๆ ตามแต่ใจชอบ โดยเอาสินบนจากทั้งสองฝ่ายเป็นประมาณ ดังม้าที่กินหญ้าทั้งสองปาก


6. ทรงฝันว่าฝูงชนเอาถาดทองราคาแพง ไปให้หมาจิ้งจอกแก่ตัวหนึ่ง พร้อมเชื้อเชิญให้หมาจิ้งจอกตัวนั้น ถ่ายปัสสาวะใส่ถาดทองนั้น - ทรงทำนายว่า ต่อไปคนดีมีสกุลทั้งหลายจะสิ้นอำนาจวาสนา คนตระกูลต่ำ หรือคนพาลจะได้เป็นใหญ่เป็นโต และคนมีตระกูล ก็จะต้องยกลูกสาว ให้แก่ผู้ไร้ตระกูลเหล่านั้น เหมือนเอาถาดทองไปให้หมาปัสสาวะรด


7.ทรงฝันว่า มีชายคนหนึ่งนั่งฟั่นเชือก แล้วหย่อนไปในที่ใกล้เท้า แม่หมาจิ้งจอกโซตัวหนึ่ง นอนอยู่ใต้ตั่งที่บุรุษนั้นนั่งอยู่ แล้วก็กัดกินเชือกนั้น โดยที่เขาไม่รู้ตัว - ทรงทำนายว่า ในกาลข้างหน้า ผู้หญิงจะเหลาะแหละ โลเล ลุ่มหลงในสุรา เอาแต่แต่งตัว เที่ยวเตร่ ประพฤติทุศีล แล้วก็จะเอาทรัพย์ที่สามีหาได้ด้วยความลำบากไปใช้ หรือให้ชายชู้ เหมือนนางหมาโซที่นอนใต้ตั่ง คอยกัดกินเชือกที่เขาฟั่น และหย่อนลงไว้ใกล้เท้า


8. ทรงฝันว่ามีตุ่มน้ำเต็มเปี่ยมตุ่มหนึ่งวางอยู่ตรงประตูวัง แวดล้อมด้วยตุ่มว่างๆ เป็นอันมาก แต่คนก็ยังไปตักน้ำใส่ตุ่มที่เต็มอยู่ จนล้นแล้วล้นอีก โดยไม่เหลียวแลจะตักใส่ตุ่มที่ว่างๆ นั้นเลย - ทรงทำนายว่า ในอนาคต เมื่อศาสนาเสื่อม คนเป็นใหญ่หรือมีอำนาจ จะเบียดเบียนหรือเอาเปรียบผู้ด้อยกว่า คนที่รวยอยู่แล้ว ก็จะมีคนจนหารายได้ ไปส่งเสริมให้รวยยิ่งขึ้น ดังฝูงชนที่ต้องตักน้ำใส่ตุ่มใหญ่ที่เต็มอยู่แล้วจนล้น ส่วนตุ่มที่ว่างอยู่กลับไม่ไปใส่น้ำ
9. ทรงฝันเห็นสระแห่งหนึ่ง มีบัวนานาชนิดขึ้นอยู่เต็ม และมีท่าขึ้นลงโดยรอบ สัตว์ต่างๆ ก็พากันดื่มน้ำในสระ แต่แทนที่น้ำบริเวณที่สัตว์เหยียบย่ำจะขุ่น กลับใสสะอาด ส่วนน้ำที่อยู่ลึกกลางสระที่สัตว์ไม่ไปดื่มหรือ เหยียบย่ำแทนที่จะใส กลับขุ่นข้น - ทรงทำนายว่า ต่อไป เมื่อคนมีอำนาจไม่ตั้งอยู่ในธรรม ขาดเมตตา คอยใช้อำนาจ รีดนาทาเร้นหรือกินสินบน ชาวบ้านชาวเมือง ก็จะหนีไปอยู่ตามชายแดนหรือที่อื่นๆ ทำให้ที่นั้นๆ ที่คนพากันไปอยู่มีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น เหมือนน้ำรอบๆ สระที่ใส ส่วนเมืองหลวงกลับว่างเปล่า เหมือนกลางสระที่ขุ่น


10. ทรงฝันว่า เห็นข้าวที่คนหุงในหม้อใบเดียวกัน สุกไม่เท่ากัน โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ข้าวแฉะ ข้าวดิบ และข้าวสุกดี - ทรงทำนายว่า ในอนาคต เมื่อคนทั้งหลายไม่อยู่ในศีลในธรรมกันมากขึ้น ก็จะทำให้ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือตกไม่ทั่วถึง ทำให้การเพาะปลูกบางแห่งได้ผล บางแห่งก็ไม่ได้ผล เช่นเดียวกับข้าวที่มีสุกบ้าง ดิบบ้าง และแฉะบ้าง


11. ทรงฝันว่าคนนำแก่นจันทน์ที่มีราคาแพง ไปแลกกับเปรียงเน่า (อ่านว่า เปฺรียง มี 3 ความหมาย คือ 1. นมส้มผสมน้ำแล้วเจียวให้แตกมัน 2.น้ำมันจากไขข้อวัว และ 3.เถาวัลย์เปรียง แต่ในที่นี้น่าจะหมายถึงเถาวัลย์เปรียง เทียบกับแก่นจันทน์ที่เป็นไม้เหมือนกันมากกว่า 2 ความหมายแรก) - ทรงทำนายว่า กาลภายหน้า พระภิกษุอลัชชีเห็นแก่ได้ทั้งหลาย แทนที่จะนำธรรมะ ที่พระพุทธองค์สอน ไปสอนสั่งให้คนหลุดพ้นจากความทุกข์ และละความโลภ กลับใช้เป็นเครื่องมือเพื่อหากิน หาปัจจัยบริจาคเข้าตัวเอง เหมือนเอาแก่นจันทน์ (ธรรมะคำสอนที่ดี) ไปแลกเอาเถาวัลย์เน่า (ลาภอามิสที่ได้รับมา ซึ่งไม่จีรังและไม่ช่วยให้พ้นทุกข์จริงๆ ได้)


12. ทรงฝันเห็นกระโหลกน้ำเต้าจมน้ำได้ - ทรงทำนายว่า ต่อไปคำพูดของคน ที่ไม่ควรจะได้รับความเชื่อถือ กลับจะได้รับความเชื่อถือ โดยเปรียบถ้อยคำของคนที่ไม่น่าเชื่อว่ามีน้ำหนักเบาเหมือนกับผลน้ำเต้า ซึ่งปกติจะลอยน้ำ แต่เมื่อคนเชื่อว่าคำพูดเหล่านั้นมีน้ำหนัก หรือหนักแน่น จึงเปรียบคำพูดนั้นว่ามีน้ำหนัก ราวกับน้ำเต้าที่จมน้ำได้


13. ทรงฝันว่าศิลาแท่งทึบขนาดเรือน ลอยน้ำได้เหมือนเรือ - ทรงทำนายว่า ถ้อยคำของคนที่ควรได้รับการเชื่อถือ ซึ่งหนักแน่น มีน้ำหนักเปรียบประดุจแท่งศิลา กลับไม่ได้รับความเชื่อถือ หรือกลายเป็นถ้อยคำที่ไม่มีน้ำหนักเหมือน เรือที่ลอยได้ ข้อนี้ตรงกันข้ามกับข้อที่แล้ว คือ คนหันไปเชื่อคำพูดคนที่ไม่ควรเชื่อ เหมือนสิ่งที่ควรลอยกลับจม สิ่งที่ควรจมกลับลอย


14. ทรงฝันว่า ทรงเห็นฝูงเขียดตัวเล็กๆ วิ่งไล่กวดงูเห่าตัวใหญ่ และกัดเนื้องูเห่าขาดเหมือนกัดก้านบัว แล้วกลืนกินเข้าไป - ทรงทำนายว่า เมื่อมนุษย์ปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส ราคะ สามีจะตกอยู่ในอำนาจของเมียเด็ก และจะถูกดุด่าว่ากล่าวเช่นเดียวกับคนรับใช้ เหมือนเขียดตัวเล็กๆ แต่กลับกินงูได้


15. ทรงฝันว่า ฝูงพญาหงส์ทอง ที่มีขนเป็นทอง ถูกแวดล้อมด้วยกา - ทรงทำนายว่า ในอนาคตผู้มีตระกูลต้องไปเที่ยวประจบ และสวามิภักดิ์ต่อผู้ไม่มีตระกูล เหมือนหงส์ทองแวดล้อมด้วยกา


16. ทรงฝันว่า ฝูงแกะพากันไล่กวดฝูงเสือเหลือง และกัดกิน ทำให้เสืออื่นๆ สะดุ้งกลัว จนต้องหนีไปแอบซ่อนตัวจากฝูงแกะ - ทรงทำนายว่าต่อไปภายหน้า คนชั่ว หรือคนที่ไม่ดีจะเรืองอำนาจ และใช้อำนาจเป็นธรรม ทำให้คนดีถูกทำร้าย หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม ต้องหลบหนี ซ่อนตัวจากภัยร้ายเหล่านี้ เหมือนเสือซ่อนตัวจากแกะ


เมื่อพิจารณาความฝัน จะเห็นว่าหลายข้อในความฝัน เป็นสิ่งที่ผิดไปจากธรรมชาติ เช่น แม่โคกินนมลูกโค ม้าสองปาก เขียดกินงู และแกะกินเสือ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ล้วนมีนัยอันไปสู่พุทธทำนายทั้งสิ้น หลายคนอาจจะสงสัยว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์ในสมัยพุทธกาล ทำไมฝันได้ไกลไปถึงอนาคต อันไม่เกี่ยวข้องกับพระองค์ได้ถึงเพียงนี้ ผู้เขียนเชื่อว่าคงเป็นเพราะเทวดาดลใจ ให้พระองค์ฝันแปลกประหลาด เพื่อพระบรมศาสดาจะได้ฝาก พุทธทำนายเป็นคำพยากรณ์อันอมตะไว้ เป็นเครื่องเตือนสติ ให้มนุษย์โลกได้ตระหนัก และระมัดระวังภัยพิบัตินานัปการ ที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า หลังจากที่พระพุทธองค์ดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว เพราะคงเล็งเห็นด้วยญาณวิเศษแล้วว่า นับวันคนเราก็จะห่างไกลจากหลักธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ จนเป็นเหตุให้มนุษย์มุ่งทำลาย เอารัดเอาเปรียบทั้งเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง และสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพื่อกอบโกยไปบำรุงบำเรอกิเลสแห่งตน โดยขาดความรัก ความเมตตาต่อกัน จึงทำให้คนเห็นแก่ตัว และมีผลให้สภาพแวดล้อม ธรรมชาติแปรปรวนไปทั่วโลกอยู่ทุกวันนี้ เราก็ต้องได้รับผบกระทบโดยตรงอย่างหลึกเลี่ยงไม่ได้

ในปัจจุบันนี้ เหตุภัยทางธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์ประสบพบเห็นอยู่เผชิญอยู่ต่าง ๆ เช่น ฝนแล้ง อันทำให้เพาะปลูกได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง ภัยพิบัติทางธรรมชาติเช่นเหตุสินามิ,โรคภัยไข้ระบาดที่ยากต่อการรักษา ปัญหาเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม เช่น เด็กและเยาวชนแก่แดดขึ้น มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยเพิ่มมากขึ้น คลอดบุตรตอนอายุยังน้อย ๆ  ลูกขาดความกตัญญู และความเคารพยำเกรงต่อพ่อแม่ พระที่ประพฤติทุศีลมีมากขึ้น ฯลฯหรือปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เช่น คนขาดความรู้ประสบการณ์ ได้รับแต่งตั้งให้ปกครองบ้านเมืองเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้มีอำนาจรับสินบน ก็มีให้เห็นอยู่ทั่วไป คนรวยยิ่งเสาะหาทางเพิ่มความร่ำรวยเพราะมีช่องทาง และโอกาสเอาเปรียบคนจโดยไม่นึกถึงผู้อื่น ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์เพิ่มมากขึ้น

     เมื่อเห็นเป็นเช่นนี้แล้ว...ก็คงต้องฝากทุกท่านให้ช่วยนำศีลธรรมกลับมาปฏิบัติให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น เพื่อพยุงรักษา สถานะความเป็นมนุษย์ให้อยู่กันได้อย่างสันติสุข ตราบนานเท่านาน คงไม่ต้องกังวลหรือเป็นห่วงว่าศาสนาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสื่อม ตราบเท่าที่ทุกท่านยังยึดถือปฏิบัติตามธรรมอันสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่งแล้ว คำสอนและศาสนาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จักดำรงอยู่ตราบนั้น
ท่านคมสรณ์/วัดไทยเชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี
๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๓
-ข้อมูลลอกมาจาก ^^http://www.oknation.net/blog/mylifeandwork/2010/12/24/entry-1

-ข้อมูลเพิ่มเติม^^http://www.scribd.com/doc/36490623/16-%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

พระชนมายุได้ 35 พรรษา อธิษฐานเสี่ยงพระบารมี


ขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ในวันที่พระองค์ตรัสรู้ นางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาส(หุงด้วยนม) ใต้ต้นไทร เมื่อเสวยเสร็จแล้วทรงลอยถาดทองในแม่น้ำเนรัญชรา ทรงอธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า ...      “ถ้าอาตมาจะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ” ถาดทองนั้นลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ๑ เส้น แล้วก็จมลงตรงนาคภพพิมานแห่งพญากาฬนาคราช พระองค์ทรงโสมนัสและแน่พระทัยว่าจะได้ตรัสรู้ เป็นพระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า โดยหาความสงสัยมิได้
 - ในเวลาเย็นโสตถิยะให้ถวายหญ้าคา 8 กำมือ ปูลาดเป็นอาสนะ ณ โคนใต้ต้นโพธิ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา (ปัจจุบันคือ ต.พุทธคยา ประเทศอินเดีย)
 - ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าจะบรรลุโพธิญาณ ประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
 - ทรงบรรลุรูปฌาณทั้ง 4 ชั้น แล้วใช้สติปัญญาพิจารณาจนเกิดความรู้แจ้ง คือ
1.) เวลาปฐมยาม ทรงได้ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกชาติได้
2.) เวลามัชฌิมยาม ทรงได้จุตูปปาตญาณ(ทิพยจักษุญาณ)คือรู้เรื่องเกิด-ตายของสัตว์ทั้งหลายว่า เป็นไปตามกรรมที่ตนกระทำไว้
3.) เวลาปัจฉิมยาม ทรงได้ อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะหรือกิเลส หมายถึง ตรัสรู้อริยสัจ4
 - อาสวักขยญาณ ที่ทรงได้ทำให้ทรงพิจารณาถึงขันธ์ 5 และใช่แห่งความเป็นเหตุที่ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท อันเป็นต้นทางให้เขาถึงอริยสัจ 4
 - เมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นแล้ว จึงละอุปาทานและตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

นวกถา : หมื่นโลกธาตุและอนันตจักรวาล

นวกถา : หมื่นโลกธาตุและอนันตจักรวาล
  












จากนวโกวาท/ธรรมวิภาค  (ข้อมูลเพิ่มคลิ๊ก)
นวกะ คือ หมวด ๙


มละ คือ มลทิน ๙ อย่าง
โกรธ ๑
ลบหลู่บุญคุณท่าน ๑
ริษยา ๑
ตระหนี่ ๑
มายา ๑
มักอวด ๑
พูดปด ๑
มีความปรารถนาลามก ๑
เห็นผิด ๑.
อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๕๒๖.

วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เทวดาแสดงปริศนาธรรม

เทวดาแสดงปริศนาธรรม คือ ดีดพิณที่หย่อนเกินไป ไม่ไพเราะ, ดีดพิณที่ตึงเกินไป ก็สายพิณขาด, ดีดพิณที่พอดี จึงกังวานสดใส ทันใดนั้นเอง ท่านเข้าสู่ “วิปัสสนาญาณฉับพลัน เป็นสมาธิพิจารณา คือ พิจารณาความหย่อน, ตึง ว่าล้วนไม่ใช่ สุดท้ายจบลงที่ ทางสายกลาง ไม่ตึง ไม่หย่อนเกินไป อนึ่ง ก่อนที่ท่านจะเข้าสู่วิปัสสนาญาณฉับพลันนั้น รูปฌานได้ถึงที่สุดแล้ว คือ ดับไป นิมิตที่ท่านเห็นและได้ยินก็ดับหายหมด ดังที่ปรากฏในพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ (แปลโดยท่านพุทธทาส) ซึ่งนำมาจาก บาลี อุปักกิเลสสูตร สุญญตวรรค อุปริ. ม. ๑๔/๓๐๒/๔๕๒


ธรรมปฏิเวธ ถามตอบ เรื่อง พระพุทธเจ้าตรัสรู้อย่างไร <<คลิ๊ก

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

อาฏานาฏิยปริตร

    การสวดภาณยักษ์ นั้นก็คือ การสวดพระอาฏานาฏิยปริตร โดยพระปริตรนี้ แบ่งเป็น2ภาค
A30GQLCALGTDYBCAA5BODZCANIBTGHCA6T41ZFCADEXWDGCAHDFBI4CA6AWFT1CA05X9IDCAECUSPBCAFSDL7BCA3L9KQSCAROIUCXCAZUY2JFCA3XNCZYCAOK3UGDCAH3SXO7CA4OCYVOCAMAJYEGคือ ภาคภาณพระ และภาคภาคยักษ์ โดยตามพระพุทธประวัติกล่าวว่า หลังจากพระมหาบุรุษตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วนั้น ท้าวจตุโลกบาลก็มาเข้าเฝ้า พระพุทธเจ้าก็ตรัสกล่าวถึงพระพุทธวงศ์ คือพระนามพระพุทธเจ้าที่เคยตรัสรู้มาแล้ว (ภาณพระ) จากนั้นท้าวจตุโลกบาลก็มีดำริว่าบริวารของตนนั้นมีมากมาย ทั้งที่เป็นยักษ์ กุมภัณฑ์ นาค และคนธรรพ์ ซึ่งมีมายมากที่ไม่มีจิตเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา กลัวว่าจะมารบกวนพระสงฆ์สาวกที่ไม่มีฤทธิ์ ขณะจาริกและปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานให้ได้ความเดือดร้อน จึงถวายพระปริตรนามว่า อาฏานาฏิยปริตร แด่พระพุทธเจ้า เพื่อให้พระสงฆ์นำไปสวดกัน (ภาณยักษ์)
 พระปริตรดังกล่าวนั้นได้รวมอยู่ทั้งใน จุลราชปริตร(สวด ๗ ตำนาน) และมหาราชปริตร

ปาฐกถา. ปาฐกถา

ปาฐกถา. ปาฐกถา

คือ การพูดถึงความรู้ ความคิด นโยบายแสดงเหตุผล และสิ่งที่น่า สนใจผู้ที่แสดง
ปาฐกถา ย่อมต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงในเรื่องนั้น ๆ


ปาฐกถาธรรม. คือ การแสดงธรรม โดยใช้ภาษาธรรมดาที่สื่อความหมายได้ ง่าย ตัดรูปแบบและพิธีกรรมอย่างที่ใช้ในการเทศน์ออกหมดสิ้น.www.panyathai.or.th/wiki/index.php/ปาฐกถา

ปาฐก คือผู้แสดง ปาฐกถา
ปาฐกถา [N] ความหมาย คือ speech,ถ้อยคำหรือเรื่องราวทางวิชาการที่กล่าวหรือบรรยายใน ที่ชุมนุมหรือในห้องเรียนขั้นอุดมศึกษา,,
www.kateep.com/dictionary/dic_thaionline-id-13507.htm

พระไตรปิฎก การทรงจำและบอกต่อ ๆ กันมาด้วยปากนี้ เรียกว่า มุขปาฐะ

พระไตรปิฎก

เป็นคัมภีร์หรือตำราทางพระพุทธศาสนา ซึ่งรวบรวมคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า ไว้เป็นหมวดหมู่ แบ่งออกเป็น 3 ปิฎก ด้วยกันคือ

1. พระวินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของ ภิกษุและภิกษุณี
2. พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาโดยทั่วไป มีประวัติและท้องเรื่องประกอบ
3. พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยธรรมะล้วน ไม่มีประวัติ และท้องเรื่องประกอบ

แผนผังพระไตรปิฎก

พระวินัยปิฎก มีอยู่ 5 หมวดด้วยกันคือ

1. มหาวิภังค์ ว่าด้วยข้อห้าม หรือวินัยที่เป็นหลักใหญ่ ๆ ของพระภิกษุ เป็นศีลของภิกษุที่มาในปาติโมกข์

2. ภิกษุณีวิภังค์ ว่าด้วยข้อห้าม หรือวินัย ของพระภิกษุณี

3. มหาวัคค์ ว่าด้วยพุทธประวัติตอนแรก และพิธีกรรมทางพระวินัย แบ่งออกเป็นขันกะ 10 หมวด

4. จุลลวัคค์ ว่าด้วยพิธีกรรมทางพระวินัย ความเป็นมาของพระภิกษุณี และประวัติการทำสังคายนา แบ่งออกเป็นขันธกะ 12 หมวด

5. บริวาร ว่าด้วยข้อเบ็ดเตล็ดทางพระวินัย เป็นการย่อหัวข้อสรุปเนื้อความ วินิจฉัยปัญหาใน 4 เรื่องข้างต้น

พระสุตตันตปิฎก มีอยู่ 5 หมวดด้วยกันคือ

1. ทีฆนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาขนาดยาว มี 34 สูตร

2. มัชฌิมนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาขนาดกลาง ไม่ยาวและไม่สั้นเกินไป มี 152 สูตร

3. สังยุตตนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนา ที่ประมวลธรรมะไว้เป็นพวก ๆ เรียกว่า สังยุต เช่นกัสสปสังยุต ว่าด้วยเรื่องของพระมหากัสสป โกศลสังยุต ว่าด้วยเรื่องในแคว้นโกศล มัคคสังยุต ว่าด้วยเรื่องมรรคคือข้อปฎิบัติ เป็นต้น มี 7,762 สูตร

4. อังคุตตรนิกาย ว่าพระพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาเป็นข้อ ๆ ตามลำดับจำนวน เช่น ธรรมะหมวด 1 ธรรมะหมวด 2 ธรรมะหมวด 10 แต่ละข้อก็มีจำนวนธรรมะ 1, 2, 10 ตามหมวดนั้น มี 9,557 สูตร

5. ขุททกนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาเบ็ดเตล็ด รวมทั้งภาษิตของพระสาวก ประวัติต่าง ๆ และชาดก รวบรวมหัวข้อธรรมที่ไม่จัดเข้าใน 4 หมวดข้างต้น แบ่งเป็นหัวข้อใหญ่มี 15 เรื่อง

พระอภิธรรมปิฎก แบ่งออกเป็น 7 เรื่องด้วยกันคือ

1. ธัมมสังคณี ว่าด้วยธรรมะ รวมเป็นหมวดเป็นกลุ่ม

2. วิภังค์ ว่าด้วยธรรมะแยกเป็นข้อ ๆ

3. ธาตุกถา ว่าด้วยธรรมะจัดระเบียบความสำคัญโดยถือธาตุเป็นหลัก

4. ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยบัญญัติ 6 ชนิด และแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติอันเกี่ยวกับบุคคล

5. กถาวัตถุ ว่าด้วยคำถามคำตอบในหลักธรรม จำนวนหนึ่งประมาณ 219 หัวข้อ เพื่อถือเป็นหลักในการตัดสินพระธรรม

6. ยมก ว่าด้วยธรรมะที่รวมเป็นคู่ ๆ

7. ปัฏฐาน ว่าด้วยปัจจัย คือสิ่งที่เกื้อกูลสนับสนุน 24 อย่าง


1. พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย สมัยเมื่อนิครนถ์ นาฎบุตร เจ้าลัทธิสำคัญคนหนึ่งสิ้นชีพ พวกสาวกเกิดแตกกัน พระจุนทเถระเกรงจะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ในพระพุทธศาสนา จึงพร้อมกับพระอานนท์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงตรัสบอกพระจุนทะ ให้รวบรวมธรรมภาษิตของพระองค์ และทำสังคายนา คือจัดระเบียบทั้งโดยอรรถและพยัญชนะ เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งมั่นต่อไป

2. พระสารีบุตรแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย ในห้วงเวลาเดียวกันนั้น ค่ำวันหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคแสดงธรรมจบแล้ว ได้มอบหมายให้พระสารีบุตรแสดงธรรมต่อ พระสารีบุตรได้แนะนำให้รวบรวม ร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 10 ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่ในหมวดนั้น ๆ พระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เห็นว่าบรรดาพระภิกษุทั้งหลายยังใคร่จะฟังธรรมต่อไปอีก พระองค์จึงได้มอบหมายให้พระสารีบุตร แสดงธรรมแทน พระสารีบุตรได้ แนะนำให้รวบรวมร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมวดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๑๐ ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่หมวด ๑ หมวด ๒ จนถึงหมวด ๑๐ ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง

3. พระมหากัสสป เป็นผู้ริเริ่มให้มีการสังคายนา จัดระเบียบพระพุทธวจนะให้เป็นหมวดหมู่

4. พระอานนท์เป็นผู้ที่ทรงจำพระพุทธวจนะไว้ได้มาก เป็นพุทธอุปฐาก ได้ขอพร หรือขอรับเงื่อนไขจาก พระพุทธเจ้า 8 ประการ ในเงื่อนไขประการที่ 7 และประการที่ 8 มีส่วนช่วยในการ สังคายนาพระธรรมวินัยมาก กล่าวคือ

ประการที่ 7 ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ขอให้ได้เข้าเฝ้าทูลถามเมื่อนั้น
ประการที่ 8 ถ้าพระองค์แสดงข้อความอันใด ในที่ลับหลังข้าพระองค์ ครั้นเสด็จมาแล้ว จักตรัสบอกข้อความอันนั้น แก่ข้าพระองค์

ทั้งนี้โดยเฉพาะประการที่ 8 อันเป็นข้อสุดท้ายมีเหตุผลว่า ถ้ามีใครถามท่านในที่ลับหลัง พระพุทธเจ้าว่า คาถานี้ สูตรนี้ ชาดกนี้ พระผู้มีพระภาดแสดงที่ไหน ถ้าพระอานนท์ตอบไม่ได้ ก็จะมีผู้กล่าวว่า พระอานนท์ตามเสด็จพระศาสดาไปดุจเงาตามตัว แม้เพียงเรื่องเท่านี้ก็ไม่รู้

ดังนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระอานนท์จึงได้รับหน้าที่ตอบคำถามเกี่ยวกับพระธรรม ในคราวสังคายนาครั้งแรก หลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือน

ในสมัยที่ยังไม่มีการจดจารึกเรื่องราวไว้ เป็นตัวอักษรอย่างกว้างขวางเช่นในปัจจุบัน มนุษย์จึงต้องอาศัยความจำเป็นเครื่องสำคัญ ในการบันทึกเรื่องราวนั้น ๆ ไว้ แล้วบอกเล่าต่อ ๆ กันมา การทรงจำและบอกต่อ ๆ กันมาด้วยปากนี้ เรียกว่า มุขปาฐะ

วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

ทรงสำแดงยมกปาฏิหาริย์

ปางแสดงยมกปาฏิหาริย์ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) บนบัลลังก์ ห้อยพระบาททั้งสองวางบนดอกบัวที่รองรับ พระชานุ (เข่า) ยกตั้งแบบประทับบนพระเก้าอี้ พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) จีบนิ้วพระหัตถ์

เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยน้ำปานะเสร็จ ทรงรับสั่งให้นายคัณฑะนำเม็ดมะม่วงไปปลูก เมื่อทรงล้างพระหัตถ์ลงบนปากหลุม เม็ดมะม่วงก็เจริญเติบโตออกผลเต็มต้นเป็นอัศจรรย์ ต้นมะม่วงนั้นมีชื่อว่า คัณฑามพฤกษ์ ตามชื่อของนายคัณฑะ พระพุทธองค์ทรงเนรมิตจงกรมแก้วในอากาศเหนือต้นมะม่วง แล้วเสด็จขึ้นสู่ที่จงกรมนั้น ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ (อ่านว่า ยะ - มะ - กะ - ปา - ติ - หาน) หรือการทำปาฏิหาริย์ให้บังเกิดเป็นคู่ ๆ โดยวิธีต่าง ๆ คือ มีท่อน้ำและท่อไฟพุ่งมา จากส่วนต่าง ๆ ของพระวรกายสลับกันไป ท่อไฟที่พุ่งออกมานั้นมีฉัพพรรณรังสี คือ มี 6 สีสลับกัน เมื่อกระทบกับสายน้ำมีแสงสะท้อนสวยงามมาก ทรงเนรมิตพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมาอีกพระองค์หนึ่ง ทรงให้พุทธเนรมิตแสดงพระอาการสลับกันกับพระพุทธองค์ เมื่อพระพุทธองค์ทรงยืน พระพุทธเนรมิตก็เสด็จจงกรม เมื่อพระพุทธองค์เสด็จจงกรม พระพุทธเนรมิตก็ทรงยืน เมื่อทรงตั้งปัญหาถามพระพุทธเนรมิตก็ตรัสวิสัชนาแก้ สลับกันไป พระพุทธองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์สลับกับการแสดงพระธรรมเทศนา พุทธบริษัททั้งหลายเกิดความเลื่อมใสและได้บรรลุธรรมเป็นจำนวนมาก
ทรงสำแดงยมกปาฏิหาริย์ข่มพวกเดียรถีย์
ที่ต้นมะม่วงคัณฑามพฤกษ์

และเมื่อใกล้ครบ 4 เดือนพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จไปยังกรุงสาวัตถี โดยมีประชาชนจากแคว้นต่างๆ ได้ไปรอดูการแสดงฤทธิ์ของพระพุทธเจ้าอย่างเนืองแน่น กินอาณาบริเวณถึง 36 โยชน์(ตามอรรถกถา) ครั้นเวลาบ่าย พระพุทธองค์ก็ทรงเริ่มทำยมกปาฏิหาริย์ มีอาการเป็นคู่ๆ (ยมก แปลว่า คู่ หรือ สอง ยมกปาฏิหาริย์ คือ การแสดงคู่ น้ำคู่กับไฟ คือ เวลาแสดง ท่อน้ำใหญ่พุ่งออกจากพระกายเบื้องบนของพระพุทธเจ้า เปลวไฟพุ่งเป็นลำออกจากพระกายเบื้องล่าง เป็นต้น)

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้นไม่อาจเข้าไปยึดมั่นถือมั่นได้

สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย  คือให้รู้เข้าใจความจริงถึงขั้นที่ว่า  ธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้นไม่อาจเข้าไปยึดมั่นถือมั่นได้  ไม่อาจไม่น่าไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เพราะอะไร เพราะว่าสิ่งทั้งหลายนั้น  ไม่ได้เป็นไปตามความปรารถนา  หรือตามความยึดมั่นของเรา แต่มันเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัยของมัน   ถึงเราจะไปยึดมั่น   ก็ไม่มีผลอะไรต่อตัวความจริง มีแต่จะกระทบกระเทือนต่อตัวเราเอง  ทำให้เราแย่เอง

วิมุตติรส กับ วิมุตติสาระ

ลักษณะพระพุทธศาสนา ที่ ๖ มุ่งอิสรภาพ
   ลักษณะที่ ๖ พระพุทธศาสนานั้นมีวิมุตติ    หรือความมีอิสรภาพเป็นจุดหมายสำคัญ   และไม่ใช่เป็นเพียงจุดหมายเท่านั้น   แต่มีอิสรภาพเป็นหลักการสำคัญทั่วไปทีเดียว  
   ในทางธรรมท่านใช้คำว่า  วิมุตติรส กับ วิมุตติสาระ
วิมุตติรส ก็คือ รสแห่งอิสรภาพ
พระพุทธศาสนานั้น  มีลักษณะของความหลุดพ้น  หรือความเป็นอิสระอยู่โดยตลอด   จุดหมายของพระพุทธศาสนาก็ได้แก่ วิมุตติ   
   
   พระพุทธเจ้าตรัสอีกแห่งหนึ่งว่า วิมุตติสารา สพฺเพ ธมฺมา  ธรรมทั้งหลายทั้งปวงมีวิมุตติเป็นสาระ  คือมีวิมุตติเป็นแก่นสาร