วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อัศจรรย์วันมาฆะ

เหตุอัศจรรย์ขึ้นพร้อมๆ กันถึง 4 ประการ อันได้แก่
1.วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์

2.มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

3.พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6
4.พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือ "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"

และเพราะเกิดเหตุอัศจรรย์ 4 ประการข้างต้น ทำให้วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งคำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" นี้ มีความหมายตามการแยกศัพท์คือ

จาตุร แปลว่า 4
องค์ แปลว่า ส่วน
สันนิบาต แปลว่า ประชุม

http://hilight.kapook.com/view/20696

พระพุทธรูปประจำวันเสาร์



ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ ทรงหงายพระหัตถ์ทั้งสอง
แบวางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้าย มีพญานาคแผ่พังพาน
ปกคลุมเบื้องพระเศียร

ประวัติและความสำคัญ
ครั้นพระพุทธองค์เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ร่มไม้อชปาลนิโครธสิ้น ๗ วัน แล้ว
พระองค์ก็เสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขยังร่มไม้จิก อันมีชื่อว่า มุจจลินท์ ซึ่งตั้งอยู่ด้าน
ทิศอาคเนย์ของต้นพระศรีมหาโพธิ์
วันนั้นเกิดฝนตกพรำอยู่ไม่ขาดสายตลอด ๗ วัน พญานาคมุจจลินท์ ผู้เป็นราชาแห่งนาค
ได้ออกจากนาคพิภพ ทำขนดล้อมพระวรกาย ๗ ชั้น แล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเบื้องบน
เหมือนกั้นเศวตฉัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความประสงค์มิให้ฝนและลมหนาวสาด
ต้องพระวรกาย ทั้งป้องกันเหลือบ ยุง บุ้ง ร่าน ริ้น และสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวลด้วย
ครั้งฝนหายแล้ว พญามุจจลินท์นาคราช จึงคลายขนดจากที่ล้อมพระวรกาย
พระพุทธเจ้า จำแลงเพศเป็นมาณพน้อยยืนทำอัญชลีถวายนมัสการพระพุทธองค์ ในที่เฉพาะพระพักตร์ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า

สุโข วิเวโก ตุฏฺฐัสสะ สุตะธัมมัสสะ ปัสสะโต
อัพยาปัชชัง สุขัง โลเก ปาณะภูเตสู สัญญะโม
สุขา วิราคะตา โลเก กามานัง สะมะติกฺกะโม
อัสมิมานัสสะ วินะโย เอตัง เว ปะระมัง สุขัง ฯ




ความว่า ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว รู้เห็นสังขารทั้งปวง
ตามเป็นจริงอย่างไร ความเป็นคนไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นคนปราศจากความกำหนัด คือความก้าวล่วงกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขในโลก
ความนำออกเสียซึ่งอัสมินมานะ คือความถือตัวตนให้หมดได้นี้เป็นสุขอย่างยิ่ง
พระพุทธจริยาที่เสด็จประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ภายในวงขนดของพญานาคมุจจลินท์
นาคราชที่ขดแวดล้อมพระกายอยู่นี้ เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้นมา เรียกว่า
ปางนาคปรก
เรื่องพระปางนาคปรกนี้ นิยมสร้างเป็นพระนั่งบนขนดตัวพญานาคเหมือนเอานาคเป็น
บัลลังก์ดูสง่า องอาจเป็นพระเกียรติอำนาจของพระองค์อย่างหนึ่ง ได้ลักษณะเป็นอย่าง
พระเจ้าของพราหมณ์
ถ้าจะรักษาลักษณะของพระพุทธรูปตามประวัติ ก็จะเป็นไปอีกในลักษณะหนึ่งคือ
พระพุทธรูปจะมีพญานาคพันรอบพระวรกายด้วยขนดตัวพญานาคถึง ๔-๕ ชิ้น จนบังพระ
วรกายมิดชิด เพื่อป้องกันฝนและลม จะเห็นได้ก็เพียงพระเศียร พระศอ และพระอังสา
เป็นอย่างมาก ทั้งเบื้องบนก็มีหัวพญานาคแผ่พังพานปกคลุมอีกด้วย

คาถาสวดบูชา
ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา
โวโรเปตา เตน สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ คัพภัสสะ ฯ

พระพุทธรูปประจำวันศุกร์

พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ ทั้งสองประสานกันยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถีขวาทับพระหัตถ์ซ้าย

ในสัปดาห์ที่ 7 ภายหลังการตรัสรู้ พระพุทธองค์ได้เสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ที่ต้นเกตุ ุชื่อราชายตนะ ตลอด 7 วัน แล้วเสด็จกลับมาที่ต้นอชปาลนิโครธซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหาโพธิ์ จากนั้นทรงรำพึงถึงธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ว่า เป็นธรรมที่ละเอียด ประณีต สุขุม คัมภีรภาพยากที่จะมีใครๆ ตรัสรู้ตามได้ ทำให้น้อมพระทัยไปในการจะไม่ทรง แสดงธรรมแก่สรรพสัตว์ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบวารจิตเช่นนั้นของพระพุทธเช้า เลยกล่าวกับทวยเทพว่า คราวนี้โลกคงต้องฉิบหายแน่ จึงเข้าเฝ้าพระพุทธองค์และทูลอาราธนาให้พระองค์แสดงธรรรมโปรดเวไนยสัตว์ด้วย เพื่อบุคคลที่มีกิเลสธุลีในจิตใจน้อยจะได้รู้ธรรมที่พระองค์ได้สรัสรู้บ้างพระศาสดาเองทรงอาศัยพระทัยอันประกอบด้วยพระมหากรุณา จึงทรงรำพึงถึงธรรมเนียม ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตทรงกระทำภายหลังจากการตรัสรู้ ย่อมทรงแสดธรรมโปรดเวไนยสัตว์ ประดิษฐานพระศาสนาให้ตั้งมั่นแล้วจึงเสด็จดับขันธปรินิพพานจึงน้อมพระทัยไปเพื่อการแสดงธรรมสรรพสัตว์จากนั้นทรงพิจารณาอุปนิสัยของสรรพสัตว์ ก็ทรงทราบว่าแตกต่างกันออกไป บางเหล่าก็มีอุปนิสัยประณีต บางเหล่าก็ปานกลาง บางเหล่าก็หยาบ ที่มีอุปนิสัยดี มีกิเลสเบาบาง มีบารมีที่สั่งสมอบรมมาแล้วซึ่งพอที่จะตรัสรู้ธรรมตามพระองค์ได้ก็มี ผู้ที่มีอินทรีย์แก่กล้าก็มีผู้มีอินทรีย์ยังอ่อนก็มี ผู้ที่จะพึงแนะนำสั่งสอนได้โดยง่ายก็มี ผู้ที่จะแนะนำได้โดยยากก็มี ผู้สามารถจะรู้ได้ก็มี เปรียบเหมือนประทุมชาติบางเหล่าที่โผล่พ้นเหนือน้ำพร้อมจะผลิบาน เมื่อได้รับสุรีย์แสงก็มี บางเหล่าก็ยังอยู่เสมอน้ำก็มี บางเหล่ายังจมอยู่ในน้ำก็มีเมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาด้วยพระปรีชาญาณ หยั่งทราบเวไนยสัตว์ผู้จะได้รับประโยชน์จากพระธรรมเทศนาแล้วก็ทรงอธิษฐานพระทัยในอันจะแสดงธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์และตั้งพุทธปณิธานที่จะดำรงพระชนม์อยู่จนกว่าจะได้ประกาศพระศาสนาให้แพร่หลายและตั้งมั้นเสียก่อนท้าวสหัมบดีพรหมได้ทรงถึงพุทธปณิธานและเห็นว่าทรงรับอาราธนาในการเผยแผ่พระธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สพรรพสัตว์แล้ว จึงกลับไปยังพรหมโลกด้วยพุทธจริยาที่ทรงรำพึงถึงธรรมที่จะทรงแสดงโปรดชนนิกรผู้เป็นเวไนยบุคคลดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้มีการสร้างพระพุทธรูปปางรำพึงขึ้น และใช้เป็นปางพระพุทธรูป บูชา สำหรับผู้ที่เกิดวันศุกร์
http://www.watdhammapateep.com/Buddha%20image/Buddha%20image_Friday.html
ต้นเกตุ
ต้นอชปาลนิโครธหรือต้นไทร
ต้นพระศรีมหาโพธิ์